ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   ของดีเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ฟาร์มเลี้ยงปลาคาร์พ  (Read: 4114 times - Reply: 0 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

ฟาร์มเลี้ยงปลาคาร์พ
« Thread Started on 13/8/2553 13:50:00 IP : 124.120.64.62 »
 

ปลาคาร์พ เป็นสัตว์น้ำจืด ผู้ที่อยู่ในวงการปลาสวยงามรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยว่าความสวยของรูปร่างและสีสันที่เด่นชัดนั่นเอง

เสน่ห์ อีกอย่างหนึ่งของปลาชนิดนี้คือ ผู้เลี้ยงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่ยาก หากปลาที่เลี้ยงไว้ยิ่งโต ยิ่งสวย เพราะว่าตลาดปลาคาร์พนั้นกว้างและนิยมกันมากให้หมู่คนที่มีฐานะ

มิแปลกใจเลยที่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาคาร์พในเมืองไทยค่อนข้างมาก ซึ่งมีทั้งฟาร์มมาตรฐานและฟาร์มชาวบ้าน

ฟาร์ม มาตรฐาน ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการเป็นคนมีฐานะหรือมีเงินหมุนเวียนค่อนข้างดี เนื่องจากต้องลงทุนสร้างฟาร์มด้วยบ่อปูนซีเมนต์และระบบกรองน้ำอย่างดี และนิยมสั่งซื้อพันธุ์ปลา เกรด A จากต่างประเทศมาเลี้ยงด้วย

ส่วนฟาร์มของชาวบ้านนั้น จะเพาะเลี้ยงในบ่อดิน และใช้พันธุ์ปลาภายในประเทศ ซึ่งมีต้นทุนการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ

ฟาร์ม ทั้งสองดังกล่าว มีจุดประสงค์ของการตลาดที่ต่างกัน ฟาร์มแรก มุ่งขุนปลาให้มีคุณภาพทั้งรูปร่างและสีสัน ทั้งนี้ เพื่อป้อนให้กับตลาดบนหรือลูกค้าที่มีฐานะ เนื่องจากราคาปลาสูง มีตั้งแต่หลักหมื่นจนหลายแสนบาทต่อตัว

สำหรับฟาร์มของชาวบ้านนั้น มุ่งเพาะขยายพันธุ์เพื่อผลิตลูกปลาขายเป็นหลัก โดยไม่ได้คัดสายพันธุ์มากนัก เพราะว่าเน้นตลาดอยู่ระดับล่าง หรือตามตลาดซื้อปลาสวยงามทั่วๆ ไป อย่างไรตามผลผลิตลูกปลาบางฟาร์มสามารถส่งออกขายสู่ตลาดต่างประเทศได้ด้วย

แม้ ว่าระยะหลังมีการตรวจพบโรคระบาดบ้างก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้วงการปลาคาร์พเงียบเหงาไป กลับคึกคักภายในประเทศ เนื่องจากราคาลดลง ทำให้มีผู้เลี้ยงรายใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะ

รู้จัก คุณเนียม กับ คุณกนกอร พวงสันเทียะ ผู้ผลิตลูกปลาคาร์พขาย

คุณ เนียม กับ คุณกนกอร พวงสันเทียะ สองสามี-ภรรยา ผู้อยู่วงการสัตว์น้ำมายาวนาน โดยเฉพาะคุณเนียมนั้นเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา ดินแดนบ้านเกิดตั้งแต่วัยรุ่น เข้าสู่เมืองหลวงมาเป็นลูกจ้างบริษัทส่งออกปลานานถึง 10 ปี ก็ลาออกมาเช่าที่ดิน เพื่อทำอาชีพของตนเอง โดยเลือกเพาะขยายพันธุ์ลูกปลาดุกบิ๊กอุยขาย ต่อมาพัฒนาตัวเองเข้าสู่วงการปลาสวยงาม เนื่องจากผลตอบแทนที่ดีกว่านั่นเอง

ปลา ออสการ์ คือปลาสวยงามที่เขาเลือกเพาะขยายพันธุ์ลูกปลาขายครั้งแรก แต่ทำได้ไม่นานต้องหยุด เพราะว่าปลาชนิดนี้ช่วงฤดูหนาวมักมีปัญหาในการเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ปลา

เขาหันไปศึกษาปลาสวยงามตัวใหม่ ในที่สุดมาลงตัวที่ปลาคาร์พ เนื่องจากเพาะขยายพันธุ์ง่าย และทำได้ทั้งปี อีกทั้งตลาดเปิดกว้างด้วย

"ช่วง ที่ผมมาเช่าที่ดิน เพื่อเพาะปลาขายนั้น ผมได้รู้จักกับคุณกนกอร เพราะว่าอยู่ใกล้ๆ ฟาร์ม และต่อมาพัฒนาเป็นแฟน แต่งงานอยู่ด้วยกัน โดยช่วยกันทำอาชีพเพาะขยายพันธุ์ปลาขาย เลี้ยงครอบครัวสร้างฐานะ จนทุกวันนี้ ผมพอใจและมีความสุขกับอาชีพที่เลือกแล้ว" คุณเนียม กล่าว

ปัจจุบัน นี้ คุณเนียม อายุ 43 ปี ส่วน คุณกนกอร อายุ 33 ปี ทั้งสองช่วยกันทำงาน โดยคุณเนียมเน้นด้านการเพาะเลี้ยงปลาเป็นหลัก ส่วนคุณกนกอรช่วยเหลือด้านการตลาด โดยเธอขับรถกระบะบรรทุกลูกปลามาขายในตลาดซันเดย์ทุกๆ สัปดาห์ และบางครั้งยังส่งขายให้กับบริษัทส่งออกปลาด้วย

"ตอนนี้เราเน้นขาย ภายในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศเริ่มมีปัญหา เพราะว่ามีการตรวจพบโรคไวรัสปลาที่นำมาจากเมืองไทย ทำให้ถูกระงับการส่งออก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมงกำลังหาหนทางช่วยเหลือ โดยเบื้องต้นได้ขอร้องให้เจ้าของฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาคาร์พมาขึ้นทะเบียนฟาร์ม ทั้งนี้ เพื่อหาหนทางป้องกันโรคดังกล่าวให้หมดไป ฟาร์มไหนปลอดโรค ทางกรมประมงก็จะให้ใบอนุญาต ซึ่งตอนนี้เราได้รับการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างเป็นทางการแล้ว เพราะว่าทางเจ้าหน้าที่ของกรมประมงตรวจไม่พบโรคไวรัส เพราะฉะนั้นถ้าตลาดต่างประเทศเปิดอีกครั้ง เราก็สามารถส่งปลาออกไปขายได้ โดยผ่านบริษัทส่งออก" คุณกนกอร กล่าว

และว่า "ตอนนี้ผลผลิตปลาส่วนใหญ่ส่งขายในประเทศเท่านั้น แม้ว่าราคาลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังไม่ขาดทุน หากวันไหนตลาดต่างประเทศเปิด ราคาคงขยับขึ้น และเมื่อนั้นเราจะได้กำไรมาก ซึ่งตอนนี้เราจะประหยัดทุกอย่าง เพื่อรักษาต้นทุนไม่ให้สูงขึ้น"

ขยายพื้นที่เลี้ยงปลา

ปัจจุบัน นี้ คุณเนียม และ คุณกนกอร ได้ขยายฟาร์มเลี้ยงปลาเพิ่ม จากบ่อเลี้ยง 12 ไร่ ที่เขตบางเขน กรุงเทพ ฯ เป็น 28 ไร่ ที่ข้างๆ ส.น. ประชาสำราญ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ซึ่งระยะหลังๆ เขาและเธอใช้อยู่ที่ฟาร์ม 28 ไร่ เป็นหลัก ส่วนฟาร์มแรกนั้นจะค่อยๆ ทยอยปิดไป เนื่องจากน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ

"เราเช่าพื้นที่ เลี้ยงปลาใหม่ 28 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นบ่อเลี้ยงปลาดุก โดยเสียเงินค่าเช่าไปปีละ 30,000 บาท สถานที่ใหม่นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะว่ามีบ่ออยู่แล้ว 10 บ่อ แต่ละบ่อมีขนาดไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1 ไร่ 2 ไร่ และ 3 ไร่ ซึ่งที่นี่อยู่ติดกับลำคลองที่มีน้ำค่อนข้างสะอาดเหมาะสมเลี้ยงปลาคาร์พมาก เลย"

บ่อเลี้ยงปลาที่หนองจอกนี้ พวกเขาจะไว้อนุบาลลูกปลากับเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ส่วนที่บางเขนนั้นใช้สำหรับเพาะขยายพันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะว่าสถานที่ใหม่ยังไม่มีโรงเพาะฟักนั่นเอง

"ทุกๆ 7 วัน เราจะจับพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดินมาเช็คความสมบูรณ์เพศ หากพบว่าตัวไหนมีความพร้อมก็จับใส่ถุงอัดออกซิเจน ขนส่งไปที่บางเขน ปล่อยเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ เพื่อเพาะขยายพันธุ์ต่อไป"

ปล่อยให้ไข่ฟักออกเป็นตัวในบ่อปูน และอนุบาลลูกปลาต่ออีกสัก 4-5 วัน ก็ขนส่งนำมาปล่อยเลี้ยงในบ่อดินที่หนองจอก

"ต่อ ไปเราจะสร้างโรงเพาะฟักอยู่ที่หนองจอก เพื่อทำให้ครบวงจรที่นี้ที่เดียว มันจะประหยัดต้นทุนการผลิตได้เยอะ แต่ตอนนี้ต้องทำอย่างนี้ไปก่อน เพราะว่าต้องการเก็บเงินสักก้อนหนึ่งนำมาลงทุนต่อไป" คุณกนกอร กล่าวเสริม

คัดเลือกปลาเป็นพ่อแม่พันธุ์

ดัง ที่บอกแล้วว่า ฟาร์มเลี้ยงปลาคาร์พในเมืองไทยส่วนใหญ่แบ่งออก 2 ประเภท อย่างแรกฟาร์มมาตรฐาน ที่มีพ่อแม่พันธุ์หลักหมื่นหลักแสนไว้ประดับ อย่างหลังฟาร์มชาวบ้านที่ลงน้อย และส่วนใหญ่จะใช้ปลาเกรดกลางลงมา เพื่อเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ปลา

ถามว่า ลูกปลาที่ออกมาจะมีคุณภาพหรือ? คำตอบที่ได้รับว่า มันไม่แน่นอน บางครั้งผลผลิตออกมาอาจจะสวยกว่าปลาจากฟาร์มมาตรฐานก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการคัดเลือก และขั้นตอนผสมพันธุ์ด้วย

หากผสมพันธุ์ข้าม ชนิดกัน โอกาสที่ลูกปลาออกมาสวยก็มีน้อย แต่ถ้าเป็นชนิดเดียวกัน คือขาว-แดงหรือสีทอง ลูกปลาออกมาอาจจะสวยกว่าพ่อแม่หรือเกรดสูงพอๆ กับปลาที่สั่งเข้าจากต่างประเทศก็ได้

"มีลูกค้าบางคน เขามาคัดเลือกลูกปลาจากฟาร์มไปเลี้ยง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ก็นำไปประกวด ได้รางวัลก็มี ส่วนตัวผมและแฟนไม่มีเวลานำปลาไปประกวดที่ไหนหรอก เพราะว่าส่วนใหญ่อยู่ที่ฟาร์มคอยดูแลปลาเสียมากกว่า" คุณเนียม กล่าว

คุณ เนียมเล่าย้อนหลังเมื่อเลี้ยงปลาคาร์พช่วงแรกๆ ว่า ในการเริ่มต้นทำฟาร์มนี้ สิ่งแรกที่ต้องมีคือ พ่อแม่พันธุ์ เราพยายามเสาะหาปลามาเลี้ยงเพื่อสะสมไว้ขยายพันธุ์

ปลาที่เขาหาซื้อมาครั้งแรกมีทั้งสวยและไม่สวย คละเคล้ากันไป

"เรา จะหาปลาสวยๆ อย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าราคามันแพง ผมพยายามเดินคัดเลือกปลาสวยๆ ราคาถูกตามตลาดซันเดย์ด้วย เพื่อเก็บมาเลี้ยงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ รวมๆ กันแล้ว นับร้อยตัวทีเดียว"

คุณเนียม เล่าต่อไปว่า เมื่อเรานำปลาสวยและไม่สวยมาผสมพันธุ์กัน ผลผลิตลูกออกมาก็มีความสวยให้เห็นด้วย

คุณ เนียมก็คัดเลือกปลารุ่นลูกที่รูปร่างและสีสันสวยไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์รุ่น ต่อๆ ไป และทำเช่นนี้ตลอด จนได้พ่อแม่ที่สวยๆ ไม่แพ้ฟาร์มที่ลงทุนสูงเลย

เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์อิงธรรมชาติ

บ่อ ดิน ขนาด 1 ไร่ ลึก 2 เมตร ข้างๆ บ่ออนุบาล 4-5 บ่อ เป็นสถานที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา โดยคุณเนียมจะปล่อยเลี้ยงในอัตราหนาแน่นเพียง 300 ตัว ต่อไร่ เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการดูแล และต้องการให้ปลาสมบูรณ์อย่างเต็มที่ด้วย

"จริงๆ แล้ว บ่อขนาดนี้ผมสามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้เกือบ 1,000 ตัว แต่ไม่อยากทำอย่างนั้น เพราะว่ามันอยู่กันหนาแน่นหนา ผิดธรรมชาติ ถ้าเราปล่อยเลี้ยงน้อยๆ ปลาก็แข็งแรง ไม่เครียด และไม่ค่อยมีโรคภัยด้วย" คุณเนียม กล่าว

คุณเนียม บอกว่า การเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์ในอัตราหนาแน่นต่ำไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ก็ได้ แต่หากต้องการป้องกันโรค ก็ควรเปลี่ยนบ่อเลี้ยงใหม่ทุกๆ 5-6 เดือน ทั้งนี้ เพื่อให้บ่อเก่าได้มีโอกาสพักเสียบ้าง

"ผมมีบ่อเลี้ยงปลา หลายบ่อก็ใช้วิธีดังกล่าว แต่ถ้ามีบ่อน้อยการเปลี่ยนถ่ายน้ำอาจจะดูดน้ำเก่าออกทิ้งสักครึ่งหนึ่ง แล้วดูดน้ำใหม่เข้าไปแทนที่เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วๆ ไปก็ได้ แต่ผมสะดวกอย่างนี้ จึงใช้วิธีย้ายบ่อเลี้ยงแทน"

ในการย้ายบ่อ เลี้ยงแต่ละครั้งนั้น จะใช้แรงงาน 2 คน คือ คุณเนียม กับ คุณกนกอร เท่านั้น เพราะว่าเป็นงานที่ไม่เหนื่อยอะไรเลย เพียงนำกระชัง ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ไปปักไว้กลางบ่อ และให้ขอบกระชังจมน้ำเล็กน้อย จากนั้นก็นำอาหารสำเร็จรูปของปลาดุกมาใส่ในถุงมุ้งเขียว แล้วนำไปแขวนไว้ภายในตรงกลางกระชัง เมื่อปลาได้กลิ่นอาหาร พวกมันก็ทยอยเข้ามา

หลังจากนั้น คุณเนียมก็จะยกปากกระชังให้ขึ้นเหนือน้ำ แล้วค่อยๆ ช้อนจับปลา เพื่อย้ายสู่บ่อเลี้ยงใหม่ต่อไป

"วิธี นี้สามารถใช้ได้ทั้งลูกปลาและพ่อแม่ปลา คือเมื่อต้องการจับปลาไปขายหรือนำมาเพาะขยายพันธุ์ก็ไม่ต้องดูดน้ำออกหรือ ลากอวนให้เสียเวลาและแรงงาน เพียงแต่ใช้อาหารล่อ พวกมันก็เข้ามาอยู่ในกระชังแล้ว" คุณเนียม กล่าว

กล่าวสำหรับเลี้ยง พ่อแม่ปลานั้น เขาจะซื้ออาหารสำเร็จรูปของปลาดุกให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยวันละ 4 กิโลกรัม ต่อพ่อแม่ปลา 300 ตัว โดยไม่ให้อาหารเสริมใดๆ เลย

"ปลา 300 ตัว จะมีแม่ปลาอยู่ประมาณ 200 ตัว นอกนั้นเป็นพ่อปลา และทุกๆ สัปดาห์ ผมจะจับพ่อแม่ปลาขึ้นมาเช็คความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ หากพบแม่ปลาตัวไหนอวัยวะเพศบวมผิดปกติก็จับไปฉีดฮอร์โมนเร่งให้ออกไข่ ส่วนพ่อปลาต้องรีดดูน้ำเชื้อ ถ้าพบว่ามี ก็นำมาผสมพันธุ์ โดยไม่ต้องฉีดฮอร์โมนอะไรเลย"

ปลาคาร์พ ผสมพันธุ์ไม่ยาก

แม่ ปลาหลังฉีดฮอร์โมนก็ถูกนำมาปล่อยในบ่อปูนซีเมนต์ ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยาว 3 เมตร ระดับน้ำสูง 50 เซนติเมตร เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีพ่อพันธุ์อาศัยอยู่แล้ว

ภายในบ่อจะมีท่อออกซิเจน และเชือกฟางฝอย เพื่อให้ไข่ปลายึดติด เพราะว่าธรรมชาติของปลาชนิดนี้เป็นไข่ลอยนั่นเอง

ขนาด บ่อดังกล่าว สามารถปล่อยแม่พันธุ์ได้ 2 ตัว ส่วนพ่อพันธุ์นั้นเขาจะปล่อยมากถึง 5 ตัว ทั้งนี้เพื่อให้น้ำเชื้อมีปริมาณเพียงพอกับไข่ เนื่องจากแม่ปลาแต่ละตัวมีปริมาณไข่มากนั่นเอง

"ปลาอายุ 1 ปี ก็สามารถเป็นแม่ปลาได้แล้ว แต่มีปริมาณไข่แต่ละครั้งไม่ถึงแสนฟอง แต่ถ้าอายุมาก คือ 2-3 ปี ขึ้นไป ปริมาณไข่เกือบๆ สองแสนฟองทีเดียวเลย"

รุ่ง เช้า ไข่ดีๆ จะติดอยู่บนเชือกฟาง ส่วนไข่เสียจมอยู่ก้นบ่อ คุณเนียม กับ คุณกนกอร ก็จะดูดน้ำเก่าทิ้งพร้อมกับจับพ่อแม่พันธุ์ออก จากนั้นดูดน้ำใหม่เข้าไปแทนที่

ทิ้งไว้ 2 วัน ไข่ก็ฟักออกเป็นตัว จากนั้นปล่อยให้ไข่แดงที่หน้าท้องยุบอีก 2-3 วัน และหาซื้อไรแดงให้กินเป็นอาหารต่อไป

คุณ เนียมจะอนุบาลลูกปลาในบ่อดินเพียง 3 วัน เท่านั้น ก็จับไปเลี้ยงต่อในบ่อดินที่มีระดับน้ำลึก 1 เมตร โดยปล่อยในอัตราหนาแน่น 200,000-300,000 ตัว ต่อไร่

"บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลาต่อนั้น เราต้องเตรียมให้ดี ไม่เช่นนั้นอัตรารอดชีวิตจะต่ำ เพราะฉะนั้นก่อนปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงทุกครั้ง ผมเตรียมบ่ออย่างดี คือดูดน้ำออกทิ้ง พร้อมกับหว่านยาฆ่าศัตรูปลาให้ทั่วบ่อ เมื่อยาระเหยออกหมดแล้ว เราก็หว่านปูนขาวและเกลือ พร้อมขี้ไก่ลงไป จากนั้นก็ดูดน้ำเข้า แต่ต้องผ่านการกรองก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำชนิดอื่นเข้าไปเจริญเติบโตแข่งขันกัน" คุณเนียม กล่าว

หลังจากดูดน้ำเข้า 1 วัน เขาก็จะปล่อยลูกปลาลงทันที ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ลูกเขียด ลูกอ๊อด ลงไปอยู่และเจริญเติบโตเร็วกว่านั่นเอง

"ถ้า ศัตรูโตกว่า มันก็จับกินลูกปลาเป็นอาหาร แต่ถ้าเติบโตเท่าๆ กัน โอกาสที่จะเสียหายก็มีน้อย ดังนั้น ลูกปลาที่อนุบาลในบ่อดินนี้มีอัตรารอดชีวิตมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทีเดียว" คุณเนียม กล่าว

สำหรับอาหารที่ให้ลูกปลากินนั้นคุณเนียมจะใช้ของปลา ดุกขนาดเล็กพิเศษ นำมาแช่น้ำ เพื่อให้นิ่มและละเอียด จากนั้นก็นำไปหว่านให้ลูกปลากินเป็นอาหาร

เลี้ยงได้ 15 วัน ลูกปลาก็เจริญเติบโตขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารแช่น้ำแล้ว เพียงนำอาหารเม็ดสำเร็จในกระสอบหว่านให้กินได้เอง

1 เดือน ลูกปลาได้ขนาด 1 นิ้ว ผ่านไปเดือนที่ 2 ก็โตขึ้น 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว ในเดือนที่ 3 ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการแล้ว

"เมื่อ ปลาอายุได้ครบ 1 เดือน เราก็คัดปลาไม่สมบูรณ์ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ออกขายเป็นปลาเหยื่อในราคาถูก และย่างเข้าเดือนที่ 2 ก็มานั่งคัดปลาเกรดอีกครั้ง โดยแบ่งเป็น 3 เกรด คือ A B และ C ซึ่งเกรด A มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ และ B 30 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนั้น ที่เหลือเป็นเกรด C"

ราคาส่งปลาเกรด A และ B ที่ตลาดซันเดย์ อยู่ระหว่าง 7-10 บาท ส่วนปลาเกรด C อยู่ที่ 2-3 บาทเท่านั้นเอง

"เราขายไม่เอากำไรมาก เพราะว่าต้นทุนเราไม่สู้มากนัก แต่ต้องการปริมาณเยอะมากกว่า เนื่องจากเรามีศักยภาพผลผลิตได้สูงนั่นเอง"

คุณเนียม และ คุณกนกอร เป็นคนที่ใจดี พร้อมกับให้ข้อมูลทุกด้าน หากสนใจติดต่อไปได้ที่ เบอร์โทร. (08) 7926-0825 และ (08) 6513-8424

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ของดีเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,818 Today: 51 PageView/Month: 431

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...