ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   ของดีเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   แนะนำการจัดทำการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์  (Read: 2596 times - Reply: 0 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

แนะนำการจัดทำการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
« Thread Started on 13/8/2553 13:21:00 IP : 124.120.64.62 »
 

“…บรรยากาศของโฮมสเตย์ย่านอัมพวา อาจมีทิวทัศน์เป็นแม่น้ำสายเดียวกัน แต่ที่พวกเขากลับมาพักกับเราอีก คงเพราะถูกอัธยาศัยกัน และที่สำคัญ ภาพโฆษณาที่ลงในเว็บไซต์ ไม่มีการตัดต่อ…”

“อัมพวา” แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง ที่ใครหลายคนแม้จะเคยไปมาแล้วเป็นต้องกลับไปเยือนอีก เพราะต้องมนต์เสน่ห์ ของสายน้ำใสๆ หรืออาจติดอกติดใจในรสชาติของอาหารอันหลากหลาย รวมไปถึงอัธยาศัยใจคอของคนในพื้นที่ ที่มีน้ำใจไมตรียิ้มแย้มแจ่มใส สามารถพบเห็นได้ไม่ยาก

ด้วยความที่มีผู้คนชมชอบกันมาก สถานที่สำหรับพักตากอากาศ ประเภทบ้านพัก โรงแรม รีสอร์ต หรือโฮมสเตย์ ในจังหวัดสมุทรสงคราม จึงเกิดขึ้นมาตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวมากเป็นเงาตามตัวไปด้วย มีการสำรวจคร่าวๆ อย่างไม่เป็นทางการ ล่าสุด ผู้ประกอบการด้านที่พักในจังหวัดแห่งนี้มีถึง 700 รายเลยทีเดียว

การ มี “ตัวเลือก” ให้นักท่องเที่ยวมากมาย ทำให้ผู้ประกอบการแต่ละราย ต้องหาจุดขาย กระทั่งกลายเป็นจุดเด่นของตัวเองให้ได้ ในรายละเอียดในเรื่องราวนับจากนี้ มีกรณีตัวอย่างของผู้ประกอบการโฮมสเตย์รายหนึ่ง ในอำเภออัมพวา ที่เริ่มต้นอาชีพนี้ด้วยความไม่ตั้งใจและไม่รู้อะไรเลย

แต่เมื่อลง มือทำแล้ว ไม่มีสักขั้นตอนที่เจ้าของกิจการจะทำด้วยความไม่ตั้งใจ ครั้นเวลาผ่านไปได้ไม่ถึง 5 ปี โฮมสเตย์แห่งนี้ ที่เรียกขานตัวเองว่า “บ้านกุ้งแม่น้ำ” ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เมื่อใครได้มาเยือนเป็นต้องกลับมาซ้ำกันแทบ ทุกรายไป

ท่านใดสนใจเคล็ดไม่ลับ การบริหารกิจการ “บ้านกุ้งแม่น้ำ โฮมสเตย์” เชิญติดตามได้นับจากนี้ “เส้นทางเศรษฐี” สรรหามาไว้แล้ว

เริ่มจากไม่รู้

ลูกค้าช่วยแนะ

หลังจากกุลี กุจอส่งนักท่องเที่ยวคณะใหญ่ ด้วยการเข้าครัวปรุงข้าวต้มปลาหม้อโต คุณนันทพร กลิ่นมาลี ในวัย 52 ปี ที่อนุญาตให้เรียกขานแบบกันเองว่า คุณติ๋ม กรุณาสละเวลามานั่งพูดคุยด้วยใบหน้าที่ยังชุ่มเหงื่อ เริ่มต้นให้ฟังว่า พื้นเพเป็นชาวอัมพวามาแต่เกิด อาชีพดั้งเดิมของเธอคือรับจ้างทั่วไป แต่ด้วยความที่มีนิสัยชอบค้าขาย ส่วนสามีมีอาชีพเสริมคือออกเรือตกกุ้งแม่น้ำ เลยหันมาทำอาชีพรับซื้อกุ้งแม่น้ำ จากชาวบ้านในละแวกก่อนนำไปจำหน่ายต่อตามร้านอาหารในตัวจังหวัด

คุณ ติ๋ม เล่าต่อว่า ครอบครัวยึดอาชีพรับซื้อกุ้งแม่น้ำเรื่อยมา กระทั่งเมื่อราว 5-6 ปีก่อนหน้า ตลาดน้ำอัมพวา ได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ มีคนมาหาซื้อกุ้งแม่น้ำถึงบ้านของเธออยู่เป็นประจำ กระทั่งมีนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งนอกจากจะมาหาซื้อกุ้งแล้ว ยังขออนุญาต นั่งย่างกุ้งที่บริเวณหลังบ้านซึ่งติดกับแม่น้ำแม่กลอง เพราะเห็นว่าบรรยากาศดี

หลังจากนั้นไม่นาน นักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมติดต่อเข้ามาให้เธอช่วยหาที่พักให้ จังหวะนี้เองที่คุณติ๋มและสามี เริ่มปรึกษาและเห็นพ้องกันว่า น่าจะดัดแปลงบ้านพักบนพื้นที่ 1 ไร่เศษ ให้เป็นโฮมสเตย์ ไว้รองรับนักท่องเที่ยว เพื่อตัดปัญหาลำบากใจ

“ลูกค้าที่เคยมาซื้อ กุ้ง ชอบให้เราหาที่พักให้ หลายครั้งหาให้ไม่ได้ รู้สึกลำบากใจ แต่อยากเอาใจพวกเขา เลยคิดว่าน่าจะทำเสียเอง แต่เพราะไม่เคยคิด ไม่ได้วางแผนมาก่อน ไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า โฮมสเตย์คืออะไร” คุณติ๋ม เล่าก่อนหัวเราะร่วน

เจ้าของเรื่องราว คุยให้ฟังต่อว่า โฮมสเตย์ในแบบของเธอนั้น เริ่มต้นด้วยเงินเก็บของครอบครัวราว 40,000 บาท สามารถปลูกสร้างห้องพักหลังคามุงจาก ไม่มีห้องน้ำในตัวได้ ประมาณ 3 หลัง เป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจแบบไม่เครียด เพราะไม่ได้กู้หนี้ยืมสินใครมา และคิดเพียงว่า อาจมีรายได้เพิ่มจากอาชีพรับซื้อกุ้งแม่น้ำบ้าง ดีกว่าปล่อยบ้านให้ว่างอยู่เฉยๆ

“ช่วงระหว่างการก่อสร้างห้องพักยัง ไม่แล้วเสร็จ ยังมีลูกค้าโทรศัพท์มาจองขอเข้าพัก ทุกวันนี้ ยังแปลกใจอยู่เลยว่า พวกเขารู้ข่าวกันได้อย่างไร” คุณติ๋ม เล่าด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้มภูมิใจ

บอกปากต่อปาก

เว็บไซต์ ไม่ตัดต่อ

กิจการโฮมสเตย์ ในแบบของคุณติ๋ม ดำเนินไปได้ราว 2 ปีเศษ มีเหตุให้ต้องปรับปรุงครั้งใหญ่ เพราะ “ปลวก” เริ่มกัดกินหลังคาที่ทำจากไม้และใบจาก จึงต้องลงทุนอีกครั้ง สำหรับการปลูกสร้างห้องพักแบบใหม่ซึ่งสะดวกสบายกว่าเดิม มีแอร์และห้องน้ำในตัว ปัจจุบันมีอยู่ราว 9 ห้อง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทั้งหมดประมาณ 40-50 คน

คุณติ๋ม ยอมรับตรงไปตรงมาว่า จนถึงวันนี้เธอยังไม่ทราบว่าการจัดการโฮมสเตย์ที่ถูกต้องคืออะไร แต่ที่สามารถประคับประคองกิจการมาได้อย่างดีกระทั่งปัจจุบันนั้น ล้วนแต่ทำตามคำแนะนำของนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพัก

“แขกที่มาพักมัก ให้คำแนะนำว่า ในบ้านของเราควรมีอะไร ควรมีการบริการอะไรบ้าง หลายคนบอกไม่ชอบนอนรวมกันกับคนแปลกหน้า เราเลยสร้างห้องแยกเป็นสัดส่วน ทุกอย่างค่อยๆ ปรับปรุงเรื่อยมา การรับซื้อกุ้งแม่น้ำจึงผ่อนลงไปเยอะ เพราะคิดว่าเอาชีวิตพวกเขามาเลี้ยงครอบครัวเราเยอะแล้ว เลยหันมาเน้นโฮมสเตย์แทน” เจ้าของเรื่องราว บอกอย่างนั้น

คุณติ๋ม บอกอีกว่า กิจการโฮมสเตย์ ขายได้เฉพาะช่วงวันหยุด ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้ป้ายประชาสัมพันธ์มีไม่มาก แต่ลูกค้าไม่เคยขาด อาจเป็นเพราะมีการบอกกันแบบปากต่อปาก

“จุดเด่น ของบ้านกุ้งแม่น้ำ คือการบริการ ที่พักสะอาด อาหารอร่อย ราคาไม่แพง และมีความจริงใจกับนักท่องเที่ยวทุกคน” เจ้าของกิจการ บอกจริงจัง

ถาม ถึงปัญหาอุปสรรคในการทำโฮมสเตย์ คุณติ๋ม ตอบแบบไม่ต้องคิดนานว่า ที่ผ่านมาแทบไม่มีปัญหาอะไรเลย แขกส่วนใหญจิตใจดีมาก มีมาจากทั่วประเทศ ทั้ง ภาคอีสาน เหนือ ใต้ และกรุงเทพฯ เมื่อสอบถามรู้จักบ้านกุ้งแม่น้ำได้อย่างไร บางคนบอกรู้จักทางเว็บไซต์ บางคนบอกมีเพื่อนบอกต่อว่า เจ้าของบ้านใจดีและอาหารอร่อย

“ลูกค้าที่ นี่ส่วนใหญ่เป็นขาประจำกัน บางคนมาแทบทุกอาทิตย์ มาเหมือนเป็นญาติพี่น้องกันเลย จริงอยู่บรรยากาศของโฮมสเตย์ย่านอัมพวา อาจมีทิวทัศน์เป็นแม่น้ำสายเดียวกัน แต่พวกเขากลับมาพักกับเราอีก คงเพราะถูกอัธยาศัยกัน และที่สำคัญ ภาพโฆษณาลงในเว็บไซต์ ไม่มีการตัดต่อ ห้องไหนติดริมแม่น้ำ จะชี้แจงให้ลูกค้าทราบอย่างละเอียดทุกครั้ง” คุณติ๋ม อธิบาย

สนทนามาถึงตรงนี้ ยังมีข้อสงสัยถึงจุดเริ่ม จากเดิมที่เคยอยู่กันแบบง่ายๆ ในชุมชนสงบ แล้ววันหนึ่งต้องเปิดบ้านเพื่อรับรองคนต่างถิ่น มีการปรับตัวกันอย่างไรบ้าง คุณติ๋มยิ้มกว้าง ก่อนเล่าว่า ตอนจะเริ่มทำโฮมสเตย์ ยอมรับเลยว่ารู้สึกกลัว กลัวแขกมาดื่มเหล้า เมาทะเลาะกัน เคาะขวด เคาะกระป๋อง ห้องนั้นจะนอน แต่ห้องนี้เคาะขวดเคาะกระป๋อง กลัวว่าเราจะรับได้มั้ย และถ้าครอบครัวอยู่กันตามลำพัง ถ้ามีวัยรุ่นมาพัก มีคนแปลกหน้ามาพัก ภัยจะมาถึงเรามั้ย

“คิดมากอยู่นานเหมือนกัน แต่พอทำจริงๆ แล้ว ต้องคิดว่าเราสามารถรับได้ทุกอย่าง รับได้ทุกสถานการณ์ ว่าใครมายังไง และต้องคิดอยู่อย่างหนึ่ง คือแขกที่มาพัก เป็นคนมีการศึกษา มีหน้าที่การงาน ทำให้มีกำลังใจว่าเราทำได้ สุดท้าย พอลงมือทำแล้ว ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรที่กลัวเลย” คุณติ๋ม ทิ้งท้ายบทสนทนา ด้วยใบหน้าเปื้อนสุข

บ้านกุ้งแม่น้ำ โฮมสเตย์ อาจเป็นตัวเลือกน่าสนใจ สำหรับใครที่กำลังมองหามุมสงบสำหรับวันหยุดสุดสัปดาห์นี้

สนใจ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เลขที่ 42 ถนนบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110 โทรศัพท์ (081) 745-3318, (034) 725-088 หรือ www.bankungmaenum.com

ข้อมูล จำเพาะ

กิจการ โฮมสเตย์

ชื่อกิจการ บ้านกุ้งแม่น้ำ

เจ้า ของกิจการ คุณนันทพร กลิ่นมาลี

เงินลงทุน หลักแสนบาท

พนักงาน ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนในครอบครัว

กลุ่มลูกค้า มีหลากหลายทั้งพนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ ทหาร-ตำรวจ มาจากทั่วประเทศ

อัตรา ค่าบริการ คิดเป็นรายหัว ไม่เกิน 1,000 บาท มีอาหารเย็นและเช้าบริการ หากมาเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป ลดราคาให้เป็นพิเศษ

จุดเด่น ที่พักสะอาด อาหารอร่อย ราคาไม่แพง

สถานที่ตั้ง บ้านกุ้งแม่น้ำ โฮมสเตย์ เลขที่ 42 ถนนบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 75110

โทรศัพท์ (081) 745-3318, (034) 725-088

เว็บไซต์  www.bankungmaenum.com

อ้างอิงจาก เส้นทางเศรษฐี

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ของดีเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,821 Today: 54 PageView/Month: 434

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...