ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จ้า  (Read: 1707 times - Reply: 0 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จ้า
« Thread Started on 2/1/2554 18:05:00 IP : 124.122.165.33 »
 

ความเป็นมาของ ตลาดเก้าห้อง

คำ ว่า "เก้าห้อง" นำมาจากชื่อบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์ ตั้งอยู่ริมน้ำ ข้างวัดลานคา และอยู่ตรงข้ามตลาดเก้าห้อง เป็นบ้านเรือนไทย ฝาประกัน ใต้ถุนสูง ภายในบ้านแบ่งออกเป็น 9 ห้อง มีศาลปู่ศาลย่าเป็นที่เคารพบูชา
ตลาดเก้าห้อง เป็นชุมชนร้านตลาด อยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านเก้าห้อง ตลาดนี้เคยคึกคักอยู่ เมื่อเจ็ดสิบแปดปีก่อน โดยมีบทบาท เป็นศูนย์กลางการค้าขายของชาวบ้าน ในทุ่งฟากตะวันตกของบางปลาม้า ทั้งยังเป็นทางผ่านของเรือเมล์โดยสาร ระหว่างสุพรรณ-งิ้วราย

ตลาดเก้าห้อง ก่อสร้างโดยชาวจีนชื่อ ฮง ประกอบอาชีพค้าขาย และรับเหมาก่อสร้างจนร่ำรวย จึงต่อแพค้าขายอย่างถาวร อยู่หน้าบ้านเก้าห้อง แล้วเปลี่ยนชื่อจากฮง มาเป็นนายบุญรอด เหลียงพานิชย์ เพื่อความสะดวกสะดวกในการค้าขาย

ด้วยกิตติศัพท์ความร่ำรวยของนายบุญรอด ล่วงรู้ไปถึงหมู่โจร จึงถูกบุกปล้นทรัพย์สินไปจำนวนหนึ่ง ทางอำเภอได้ออกสกัดจับโจรได้ทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พร้อมนำทรัพย์สินมาคืน ต่อมานายบุญรอดคิดสร้างตลาด เพื่อค้าขายบนบก ชาวบ้านเรียกตลาดนี้ว่า "ตลาดเก้าห้อง" ซึ่งคำว่าเก้าห้อง นำมาจากชื่อบ้านเก้าห้องนั่นเอง

ตลาดเก้าห้องมีอยู่ 3 ตลาด ได้แก่ ตลาดบน ตลาดกลาง และตลาดล่าง

 
ตลาดบน มีอายุประมาณ 74 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น แบบสถาปัตยกรรมจีน ประมาณ 20 ห้อง พระชาญสุวรรณเขตเป็นผู้สร้าง
 
ตลาดกลาง มีอายุประมาณ 74 ปี สภาพเดิมเป็นโรงสีของนายทองดี ต่อมาสร้างเพิ่มเติม เป็นห้องแถวประมาณ 10 ห้อง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน
 
ตลาดล่าง มีอายุเก่าแก่ที่สุดประมาณ 104 ปี ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น แบบสถาปัตยกรรมจีน ประมาณ 20 ห้อง สร้างโดยนายบุญรอด เหลียงพานิชย์

หอดูโจรในตลาดเก้าห้อง

สร้าง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 โดยนายบุญรอด เหลียงพานิช เป็นหอก่ออิฐถือปูน กว้าง 3x3 เมตร สูงราวตึก 4 ชั้น มีบันไดขึ้น 4 ชั้น ชั้นบนเป็นดาดฟ้า แต่ละชั้นฝาผนังจะมีรูโต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว เมื่อเราขึ้นไปบนยอดสุด จะมองเห็นทัศนียภาพ ทั้งทางน้ำและทางบก ตลอดจนตลาดเก้าห้องได้หมด

สำหรับท่านที่ต้องการเห็น สภาพตลาดริมน้ำแบบดั้งเดิม นับวันแต่จะหายไป ท่านสามารถสัมผัสกับบรรยากาศได้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพตลาด หอดูโจร บ้านเรือนไม้เก่า หรือชีวิตแบบเรียบง่าย ซึ่งใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละคร (ดงดอกเหมย, ลอดลายมังกร) ภาพยนตร์ (อั้งยี่, แม่เบี้ย, ซีอุย, 7ประจัญบาน) นอกจากนี้ ยังถ่ายทำโฆษณา และมิวสิควีดีโอ มาแล้วมากมาย การค้าขายสินค้าท้องถิ่น อาทิเช่น ขนมจันอับ (ขนมเปี๊ยะ) กระหรี่พั๊บ ห่านพะโล้ เรือกาแฟ ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ขนมไทยพื้นบ้าน หัตถกรรมจักสาน เป็นต้น ที่ยังมีให้สัมผัสได้ทุกวัน

รายละเอียดเกี่ยวกับตลาดเก้าห้อง

ที่ตั้ง : ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ในเขตตำบลบางปลาม้า  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี 
การเดินทาง :
รถยนต์ส่วนตัว

- อยู่ห่างจากถนนใหญ่ (กรุงเทพ-สุพรรณ-ชัยนาท) ประมาณ 6-7 กิโลเมตร ต้องเ่ลี้ยวแยกเข้าไป
- หากจะไปเที่ยว ถ้ามาจากกรุงเทพ ก่อนถึงทางแยกเข้าอำเภอบางปลาม้า ประมาณ100 เมตร ทางซ้ายมือผ่านวัดลาดหอย และปั้มคาลเท็กซ์ มีทางแยกซ้ายติดปั้ม เลี้ยวเข้าไป (มีป้ายบอกทาง) ผ่านวัดสวนหงส์ เลี้ยวขวา ตรงเข้าไปจนถึงตลาดเก้าห้อง อยู่ฝั่งตรงข้ามถนนวัดบ้านหมี่ จอดรถที่ตลาดสด - สถานีดับเพลิง
   
สอบถามรายละเีอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ที่ทำการคณะกรรมการพัฒนาตลาดเก้าห้อง คุณปุ๊ก โทร. 0- 1828-8695
- ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 โทร. 035-587044
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.suphan.net, www.codi.or.th และ www.muangboranjournal.com  
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,165 Today: 75 PageView/Month: 1,859

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...