ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ตลาดบางน้ำผึ้ง สมุทรปราการ น่าเที่ยวมั่กๆ  (Read: 3530 times - Reply: 0 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

ตลาดบางน้ำผึ้ง สมุทรปราการ น่าเที่ยวมั่กๆ
« Thread Started on 19/12/2553 18:46:00 IP : 124.120.64.210 »
 
ภาพชุดเที่ยวตลาดบางน้ำผึ้งเมื่อวันวาน
(โดยคนปากน้ำ)

 
สมุทรปราการ
อยู่ ระหว่างสองฝั่งเจ้าพระยาออกสู่ทะเล เรียกว่าเมืองปากน้ำ ดังนั้นเพื่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของประชานที่ดี จึงที่ได้กันพื้นที่สีเขียว ในอำเภอพระประแดง ไว้ 6 ตำบลได้แก่ ตำบลบางกอบัว บางกะเจ้า บางยอ บางน้ำผึ้ง บางกระสอบ และ ทรงคนอง หลายฝ่ายร่วมมือกันผลักดัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกษตรและวัฒนธรรม

พวกเรามาจากฝั่ง กทม. ขับรถมาถนนปู่เจ้าสมิงพราย นำรถข้ามเจ้าพระยาด้วยแพขนานยนต์ ไปฝั่งอำเภอพระประแดงมุ่งสู่

 วัดบางน้ำผึ้งใน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง (ปัจจุบันสามารถข้ามสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม หรือทางด่วนกาญจนาภิเษกได้แล้ว)

หน้าทางเข้าวัดมีร้านขายผลไม้ซึ่งเป็นสวนตลอดแนว
อ้อม แขนของแม่น้ำเจ้าพระยาที่โอบล้อมตลาดน้ำบางน้ำผึ้งไว้ทำให้พื้นที่สีเขียว แห่งนี้มีสภาพร่มเย็น ริมคลองหน้าวัดบางน้ำผึ้งใน มีที่จอดรถอยู่บริเวณวัด



ลงจากรถแล้วเดินเลียบไปตามริมคลองที่สร้างเป็นถนนคอนกรีต ยาวไปจนถึงแม่น้ำ

 

ด้านซ้ายมือจะมีร้านขายต้นไม้นานาพันธุ์ และสินค้าต่าง ๆ



ด้านขวามือเป็นคลอง มีเรือสำปั้นให้เช่าลำละ 20 บาท
พายเรือชมทิวทัศน์สัมผัสพื้นที่สีเขียวตามแนวชายคลอง น้ำสะอาด มีวังมัจฉาเต็มไปด้วย ปลาตะเพียนหางแดง อาหารปลามีขายตรงสะพาน

 

เรือจอดขายของ ประเภทอาหารการกินตลอดแนว ตั้งม้านั่งเล็ก ๆ ให้นั่งรับประทานอาหาร อยากจะนั่งห้อยขาก็ทำได้





สำหรับคุณผู้หญิงแนะนำให้นุ่งกางเกงมาจะเหมาะกว่าเวลานั่งรับประทานอาหาร อร่อย ๆ จะได้ไม่ทำให้คนพายเรือลำบากตาเมื่อมองขึ้นมาด้านบน



เดินเลยมาทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าไปในสวนผลไม้

 

มี ซุ้มสองข้างทาง ขายสินค้าคาวหวาน ของที่ระลึกโค้งมาบรรจบกับทางเดินริมคลองอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เดินวนรอบได้ กว่าจะวนรอบท้องก็อิ่มแล้ว

 

ของ กินที่นี่ไม่ว่าจะบนบกหรือในน้ำ ราคา 10 บาท 20 บาทเท่านั้น ชายสวนจะมีเก้าอี้จัดไว้ให้นั่งพักผ่อนสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ หรือจะเอาอาหารที่ซื้อไว้ออกมานั่งรับประทานกันในบรรยากาศในสวนได้บรรยากาศ ทีเดียว

 

ร้านนี้ขายปูทอด กั้งทอด บางคนชอบปลาแนม บางคนชอบไส้กรอกโบราณ บ้างโปรดปราณกุ้งเหยียด เลือกรับประทานกันตามใจชอบ


  

หอย ทอดขนมครก ใช้เตาขนมครกมาทอดหอยทอดทำให้ได้หอยทอดเป็นคำ ๆ รับประทานสะดวกดี ส่วนประเภทข้าวแกง ข้าวขาหมู ข้าวหน้าเป็ด มีให้เลือกตามอัธยาศัย 



ตามซุ้มนั้นอาหารที่ไม่ค่อยเคยเห็นก็มีให้รับประทานเช่น ม้าฮ่อ ของน้องร้านนี้อย่าลืมแวะไปอุดหนุนกันน้องสองคนอัธยาศัยดีมาก



ไส้กรอกโบราณในภาพก็มีให้รับประทานกันทุกวันหยุด ขนมอื่น ๆ เช่นกุหลาบยามู ขนมใส่ไส้ กะละแมกวน ล้วนชวนให้ชิม



ขนม ไทยยังมีอีกมากมาย หลายร้านทำกันสด ๆ ตรงนั้น ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง อยากลองทำบ้างก็เชิญได้แม่ค้าใจดีกุลีกุจอสอนให้ทำทันทีเลย ฟาดเม็ดขนุนไปหลายลูก ใครกลัวอ้วนก็มีผลไม้ตามฤดูกาลให้เลือกรับประทานกัน



สินค้าที่พี่น้องปู่ย่าตายายซึ่งเป็นคนในพื้นที่นำมาขายมีหลายชนิดทั้งผัก ผลไม้ น่าอุดหนุนมาก

 

 ตลาดบางน้ำผึ้งเปลี่ยนแปลงตามลำดับ แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมอย่างเหนียวแน่น

ตลาดบางน้ำผึ้ง เมื่อเติบโตช่วงที่ 2

ภาพบรรยากาศตลาดบางน้ำผึ้ง  (พฤษภาคม 2551)

           ตลาด บางน้ำผึ้งยังคงสภาพแวดล้อมเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี อาหารการกิน ขนมต่าง  ๆ ที่เป็นที่นิยมชมชอบของนักท่องเที่ยวในวันก่อนตามที่ได้นำภาพมาให้ชมข้างบน ยังคงมีเหมือนเดิมไม่ได้น้อยลงเลย หากแต่มีมากขึ้นอีกมากมายหลายอย่าง เดินซื้อกินอย่างละชิ้นอย่างละอันเพลิด เพลินจนไม่มีท้องจะใส่ 
          อบต.จัดลานจอดรถเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีเป็นจำนวนมาก ราคาอาหารการกินปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเช่นก๋วยเตี๋ยวชามเล็กที่เคยขายชาม ละ 10 บาท ปรับเป็น 13 บาท เป็นต้น จะเห็นได้ว่าไม่ได้พยายามปรับราคาเพื่อแสวงกำไรอย่างไม่มีเหตุผล  ซึ่งในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ต้นทุนการค้าขายเพิ่มขึ้นการปรับราคาเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้


 

ทางเดินริมคลองจัดทำร้านและที่นั่งเพิ่มขึ้น ติดแสลนพลางแสงช่วยลดความร้อน



 ริมร่องสวนจัดโต๊ะเก้าอี้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวไปซื้ออาหารมานั่งพักผ่อนรับประทานกันได้อย่างร่มรื่น

มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายเพิ่มขึ้นหลายอย่างโดยเฉพาะงานด้านศิลปะ

การเพ้นท์ภาพเขียนภาพบนผ้ามีนักเรียนนักศึกษา ประชาชน สนใจฝึกหัดหรือแสดงฝีมือริมร่องสวนดูหน้าแต่ละคนมีความสุข

 

 

ดนตรีกลางสวนก็มีให้ฟังกัน นักท่องเที่ยวที่มีความสามารถในการร้องเพลงสามารถขึ้นไปร้องได้ บางวันมีกลุ่มนักเรียนมาแสดงให้ดูด้วย

ภาพ บรรยากาศเหล่านี้เห็นแล้วท่านที่มีลูกคงอยากพาไปเที่ยวใช่ไหม แม้แต่ครูอาจารย์ท่านยังพานักเรียนมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ตลาดบางน้ำผึ้งแห่ง นี้ ราคาไม่แพงด้วย

 

 

 

การเดินทาง
- ทางรถยนต์ ขึ้นทางด่วน หรือวงแหวนอุตสาหกรรมแล้วมาลงบริเวณถนนสุขสวัสดิ์เพื่อไปยังตลาดพระประแดง่ข ับตรงไปเพื่อลงท่าน้ำพอสุดทางจะบังคับให้ เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทรงธรรมวรวิหารไปอีก 5 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางเลี้ยวขวาอีก 1 กิโลเมตรถึงสถานีอนามัยบางน้ำผึ้ง ซึ่งสามารถจอดรถได้  และ อบต. ได้จัดลานจอดรถเพิ่มขึ้นรองรับรถได้จำนวนมาก มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกตลอดเวลา
 
- รถประจำทาง มีสาย ปอ.521, ปอ.138, ปอ.140, ปอ.141, ปอ.142, ปอ.82, ปอ.20 และรถเอกชนสาย 506
สาย ปอ.521 และ ปอ.138 จะวิ่งจากหมอชิตขึ้นทางด่วนมาลงตลาดพระประแดงและจากตลาดจะมีรถสีฟ้าประจำทาง บางคอบัว 5 บาท ถึงปากทางเข้าตลาดและต่อมอเตอร์ไซต์มาอีก 6 บาท หรือเหมามอเตอร์ไซต์รับจ้างจากตลาดพระประแดง ในราคา 30 บาท

สาย ปอ.140, ปอ.141, ปอ.142 ลงทางด่วนสุขสวัสดิ์(ป้ายวัดสน) แล้วต่อรถสาย ปอ.521, ปอ.138, ปอ.82, ปอ.20 และสาย 506 เข้าตลาดพระประแดงและจากตลาดจะมีรถสีฟ้าประจำทาง บางคอบัว 5 บาท ถึงปากทางเข้าตลาดและต่อมอเตอร์ไซค์มาอีก 6 บาท หรือเหมามอเตอร์ไซต์รับจ้างจากตลาดพระประแดง ในราคา 30 บาท 
 
สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงาน อบต.บางน้ำผึ้ง โทร. 0 2461 3254, 0 2819 6762

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 464,163 Today: 73 PageView/Month: 1,857

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...