ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   70 ปี ย้อนหลังคลองแสนแสบ  (Read: 3328 times - Reply: 1 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

70 ปี ย้อนหลังคลองแสนแสบ
« Thread Started on 8/9/2553 18:52:00 IP : 124.120.64.232 »
 
70ปีย้อนหลังคลองแสนแสบ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย จรูญ พุ่มอ่อน   
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2010 เวลา 03:30 น.

จากอดีตสู่ปัจจุบันนับจากวันนั้น คือ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๗ย้อนหลังไป 70 ปี

คลองแสนแสบเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร เมื่อ 70 ปีก่อน ประชาชน ใช้ประโยชน์จากคลองแสนแสบในการสัญจรทางน้ำ มีเรือของบริษัทนายเลิด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “เรือขาว” ใช้รับส่งผู้โดยสาร และบรรทุกสินค้า ในคลองแสนแสบ จากแปดริ้วสู่ กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถ้าจะไปทำธุระในกรุงเทพฯ ภายในวันเดียวไม่ได้ เพราะระยะทางไกลกลับไม่ทันต้องค้างคืน ผู้คนในสมัยนั้นนิยมใช้บริการเรือของบริษัทนายเลิด ซึ่งนำชื่อตำบล ชื่อซอย จากประตูน้ำประทุมวัน ถึงแปดริ้ว มาตั้งเป็นชื่อเรือ เช่น ประตูน้ำ ปทุมวัน เฉลิมโลก มักกะสัน นวลจันทร์ ประสานมิตร นวลน้อย บ้านดอน ซอยกลางทองหล่อ คลองตัน ลาดพร้าว วัดน้อย วัดตึก คลองจั่น บางกะปิ คลองกุ่ม สะพานสูง หลอแหล บางชัน มีนบุรีแสนสุข แสนแสบ ทรายกองดิน ศาลาคู้ คู้ เจียรดับ กระทุ่มราย หนองจอก สามแยก บำรุงจิรัง ท่าไข่ วัดบึงหลวงแพ่ง คลองจ้าว แป้นทอง แปดริ้ว เป็นต้น*นั่นคือ มีเรือขาวกว่า ๓0 ลำ วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ กับฉะเชิงเทราตอนนั้นคลองกว้างกว่า ๒๕ เมตร*ตลาดในการขายสินค้าและเลือกซื้อสินค้า หากล่องเรือมาตามคลองแสนแสบ จะพบตลาดอยู่ตลอดสองฝั่งคลอง เช่นตลาดประตูน้ำเฉลิมโลก ตลาดคลองตัน ตลาดวัดตึก ตลาดบางกะปิ ตลาดบางเตย ตลาดหลอแหล ตลาดบางชัน ตลาดมีน ตลาดคู้ ตลาดเจียรดับ และตลาดหนองจอก เป็นต้น การขนสินค้าส่วนใหญ่ที่มีจำนวนมากๆ ใช้เรือต่อบรรทุก แล้วใช้เรือพ่วง ของสองบริษัท คือบริษัทแหลมทอง และบริษัทประเวศ ลากจูงเรือต่อสินค้าเป็นแถว เพื่อนำสินค้าเข้า กรุงเทพฯ ส่วนชาวบ้านเมื่อจะไปตลาดก็นิยมใช้บริการของเรือจ้างแจว ซึ่งจะนำผู้โดยสารไปสู่ตลาด บางคนต้องการประหยัดเงินก็เดินไปตลาด ถ้ามีเรือก็พายไปเองตามวิถีชาวบ้าน ส่วนคนที่ไม่มีเวลาไปตลาดเมืองมีน ก็ซื้อของใช้ต่างๆ จากพ่อค้าชาวจีน ซึ่งใช้เรือแจวสัมปั้น นำของมาขายสองฝั่งคลองมีสินค้าให้เลือกมากมาย มีเงินบาทเดียวซื้อของได้หลายอย่าง นอกจากจะใช้เรือเพื่อการค้าขาย ชาวบ้านยังใช้เรือในการเดินทางไปมาหาสู่กัน ตลอดสองฝั่งคลอง มีทั้งมัสยิดและวัด เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนผู้คนสมัยนั้นหาปลาในคลองเพื่อนำมาทำกับข้าว เป็นประจำ กับข้าวส่วนใหญ่ ทำมาจากปลา และกุ้ง เป็นหลัก นานๆ จะได้กินไก่สักครั้ง เมื่อทำกับข้าวเสร็จก็นำไปแบ่งเพื่อนบ้านใกล้ๆ บางครั้งทำแกงหม้อเดียวกินได้หลายบ้าน บ้านไหนจับปลาได้ก็นำไปแลกกับกุ้ง บ้านไหนจับกุ้งได้ก็นำไปแลกกับผัก อยู่กันแบบช่วยเหลือ แบ่งปันซึ่งกันและกันอาชีพหลักของชาวบ้านก็คือทำนา รองมาทำสวน และหาปลา ชาวบ้านในสมัยนั้นเวลาทำนาใช้ควายไถนา การปลูกข้าวมีเครื่องมือการเกษตรที่หลากหลาย เช่นใช้แชงโลง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สานด้วยไม้ไผ่ ปักเสาสามเสา ใช้วิดน้ำ ขึ้นนุ บางบ้านใช้ปี๊บวิดน้ำขึ้นนาเพาะชำกล้า ไว้ทำนาดำ แต่ชาวนาส่วนใหญ่จะทำนาหว่านมากกว่า เมื่อถึงเดือนหก ฝนตกครั้งแรกในรอบปี น้ำจะขาวทั่วทุ่งนาไหลลงคลอง ส่วนปลาในคลองก็ดีใจได้น้ำใหม่ ว่ายทวนน้ำขึ้นบนนาอย่างสนุกสนานอยู่บนท้องนา เด็กก็สนุกสนานกับการกระโดดน้ำเล่นในคลอง ว่ายน้ำข้ามคลองได้หลายรอบไม่เหน็ดไม่เหนื่อย ใช้คลองเป็นที่ออกกำลังกายได้อย่างดี ใครว่ายน้ำไม่คล่องก็นำลูกมะพร้าวมาเกาะไว้ไม่ให้จมน้ำ ส่วนชาวบ้านก็ดีใจที่ได้น้ำทำนา แผ่นดินชุ่มช่ำ หลังจากร้อนมาหลายเดือน เมื่อออกกลางนาพากระป๋อง ตระกร้า ออกหาปลากลางทุ่งนา จับปลา ปู มาทำอาหารล้อมวงกินข้าวกันอย่างเอร็ดอร่อยอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาในครอบ ครัว กินกันไปคุยกันไป หัวเราะกันไป เพื่อเตรียมพลังไว้เริ่มทำนาตามฤดูกาล รอเวลาให้ฝนตกครั้งที่ 2 พอฝนตกครั้งที่ 2 ชาวบ้านเริ่มไถนา ยามเช้าจับคันไถ ส่วนควายทำหน้าที่ลากคันไถไปตามแรงบังคับของชาวนา ไถนากันทุกบ้าน เป็นบรรยากาศที่สนุกสนาน ดีใจที่ได้น้ำทำนา เมื่อจบขั้นตอนการหว่าน ไม่นานนักต้นข้าวก็ขึ้นเขียวชะอุ่ม ต้นข้าวไหวเอนไปตามลมที่พัดโชยมาเป็นระยะ ทุ่งนาถูกตบแต่งด้วยต้นข้าวที่สมบูรณ์จากความภูมิใจของชาวบ้านในระหว่างที่ รอให้ข้าวได้อายุพอดีกับการเก็บเกี่ยว ชาวนาก็ต้องทำหน้าที่ออกไปดูแลต้นข้าวทุกวัน โดยพาข้าวห่อใส่เรือเพื่อไว้ทานกลางวัน อาหารที่นำติดตัวไป ก็มีข้าว น้ำพริกปลาร้า เป็นกับข้าว ส่วนผักจิ้ม ก็เก็บเอาข้างคันนา ส่วนน้ำดื่มใช้น้ำในนาดื่มได้เลยไม่มีสารพิษ สมัยนั้นไม่ใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี ในน้ำมีปู ปลา หอย มาก ในระหว่างรอข้าวออกรวง เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวข้าว ยามว่างจากการทำนา ก็ทำสวน หาปลา ในน้ำมีปลาในนามีข้าว สมัยนั้น กุ้งถ่อ กุ้งกร้ามกราม หาได้ไม่ยาก ไม่ต้องใช้อุปกรณ์จับ ใช้วิธีสังเกตตามรากต้นไม้ ริมฝั่งคลองในฤดูหนาว ตอนกลางคืน ใช้ตะเกียงส่อง เมื่อเห็นตาของกุ้งสะท้อนกับแสงตะเกียง ก็ให้คะเนดูว่า ตาของมันมีระยะห่างพอควรแก่การจับหรือไม่ นั่นก็หมายถึง ถ้าตาสองข้างมันอยู่ใกล้กัน ก็แสดงว่ามันยังเด็ก ก็ยังไม่จับปล่อยให้โตเต็มที่ก่อน แต่ถ้าตาสองข้างมันห่างกันพอควร ก็แสดงว่ามันโตพอที่จะเป็นอาหารของเราได้ เราก็ใช้มือจับขึ้นมาได้เลยเมื่อข้าวออกรวงเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ชาวบ้านเก็บเกี่ยวข้าวในนาเข้าบ้าน ถ้าปีใดสมบูรณ์ได้ข้าวมาก ปีนั้นก็จะมีการแต่งงานกันหลายคู่ ส่วนปีใดน้ำมาก น้ำท่วม นาล่ม ไม่ได้ข้าว หนุ่มสาวก็จะผิดหวังไม่ได้แต่งงาน เพราะไม่มีเงิน พอเก็บข้าวเข้ายุ้งเรียบร้อย เมื่อน้ำลด ปลาอยู่ในนาเริ่มลงมาอยู่ในคลอง ชาวบ้านขุดบ่อไว้เก็บน้ำ ล่อปลาให้มาอยู่ในบ่อ เราหาปลาในคลองหลายวิธี เช่น ยกยอ สวิงตัก ดักลอบ ดักเบ็ด ทอดแห ตามถนัดของแต่ละคน บางรายพอเห็นเรือโยงมา ปลาบางชนิดก็จะหนีเข้าตลิ่ง ก็พายเรือตามใช้สวิงตักปลาข้างตลิ่ง ในสมัยนั้นชาวบ้านฉลาด รู้นิสัยปลาแต่ละชนิด ควรจะใช้เครื่องมือประเภทใดประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีเริ่มพัฒนา ชาวบ้านไปหาซื้อเครื่องยนต์มาใช้วิดน้ำขึ้นนา บางคนใช้ระหัดชกมวย ระหัดถีบเดินลูกตุ้ม บางคนทำกังหันใหญ่ใช้หนังทำสายพาน ลากระหัดวิดน้ำ ส่วนเครื่องวิดน้ำ ถ้าว่างจากการวิดน้ำ ชาวบ้านก็ใช้ภูมิปัญญา เอาเครื่องมาติดท้ายเรือมาด ใช้ไม้ตรง ยาว 2 เมตร มาถากให้เป็นเพรา เสียบต่อตรงวินปลายไม้ ส่วนปลายเพราใช้ถากบิดๆ ไสปรายเพราทำใบพัด พอติดเครื่อง แรงเครื่อง เรือก็วิ่งไปข้างหน้า เร็วอย่างน่าพอใจ และมีความสนุกมากๆ สมัยนั้น แต่ต้องคอยระวังไม่ให้ถูกไม้ที่ลอยในคลองเพราะเพราจะหัก ต่อมาใช้เป็นคออ่อน หรือลูกปืนยอย ขับสบาย พอเห็นกอหญ้า ขอนไม้ ยกเพลาหนีได้ ใช้สะดวกและทนทานเมื่อกลับจากนาก็ใกล้มืด เตรียมหุงหาอาหารแต่ยังหุงไม่ได้ เพราะบางบ้านยังไม่มีข้าวสาร มีแต่ข้าวเปลือก เอาข้าวเปลือกใส่ครก ตำเพื่อให้ได้ข้าวสารมาหุงในมื้อนั้นๆ คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันตำข้าวเปลือกจนเป็นข้าวสาร ตำไปหิวไป ติดไฟก่อฟืน หุงอาหาร ถ้าอยากกินหวานก็ ถั่วเขียวต้ม มันต้มเจ็ก กล้วยเชื่อม มันเชื่อม สุดยอดขนมหวานในสมัยนั้น ไม่มีขนมขายเหมือนในสมัยนี้ หิวเวลาไหน ก็มีกินมีอาหารขายทั้งคืนทั้งวัน ยามว่างในค่ำคืนก็ใช้เรือเป็นพาหนะในการไปรวมตัวกัน ชาวพุทธก็ไปวัดสวดมนต์ ไหว้พระ ฟังพระเทศน์ ส่วนมุสลิมก็ไปมัสยิดเพื่อละหมาด ฟังบรรยาย พูดคุยเรื่องศาสนา บางกลุ่มรวมกันซ้อมกลองรำมะนา ละฮูกลอง ชาวบ้านแบ่งเวลาเรียนไปศาสนาตามสถาบันต่างๆ มีอยู่หลายที่ สมัยนั้นไม่มีเสียงตามสาย ไม่มีเครื่องเสียง ตามมัสยิดหรือบาแล ใช้กลองเป็นสัญญาณบอกข่าวเช่นบอกเวลาละหมาดต่างๆ และบอกว่ามีญานาซะห์ (คนเสียชีวิต) ชาวบ้านได้ยินเสียงกลอง ตีเป็นชุดลงด้วย ตุ้ง ตุ้ง ตั้ง (3 ครั้ง) หมายถึง คนตายเป็นผู้ชาย ตุ้ง ตุ้ง (2 ครั้ง) หมายถึง คนตายเป็นผู้หญิง ถ้าเป็นเด็กจะดัง ตุ้ง เดียว เวลามีเหตุการณ์ต่างๆ จะใช้สัญญาณกลองเมื่อถึงเดือนรอมฎอน (เดือนแห่งการถือศีลอด) เวลาปลุกชาวบ้านลุกขึ้นหุงอาหารซุโฮร (อาหารที่ทานในตอนดึกก่อนที่จะได้เวลาถือศีลอด) เรียกว่า กลองตุ้งเก๊ะ (เพี้ยนมาจากคำภาษามลายู บังเก็ต แปลว่า ลุกขึ้น) คนตี ตีอย่างสนุกสนาน โดยให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันตี และทุกเย็นวันพฤหัสบดี ชาวบ้านจะพายเรือในคลอง แต่งกายด้วยสีขาวสะอาด แลดูขาวในคลอง พาอาหารคาว หวาน ไปร่วมกันละศีลอดที่มัสยิด และโรงเรียนต่างๆส่วนในคลองการใช้เรือเพิ่มมาเป็นเรือเมล์ รับส่งผู้โดยสาร เรียกว่าเรือเขียว ของชาวบ้านที่ต่อกันเองคนละลำสองลำเต็มคลองไปหมด ทั้งเรือขาวและเรือเขียว วิ่งหลายปีนานพอสมควร แล้วก็เกิดเครื่องเรือหางยาว เรียกว่าเครื่องคูลเลอร์เล็กแรงครึ่ง คนแจวเรือจ้างซื้อเครื่องมาใส่เรือใช้นั่งถือหางเสือ สบาย ไม่ต้องแจว บริษัทไทยเฮงหลง บริษัทสามัคคี สั่งเครื่องใหญ่กำลังมากขึ้น ยี่ห้อเจโล่ หรือบิ๊ก ต่อเป็นเรือยาวจุคนประมาณ 20-30 คน รับส่งผู้โดยสารตามตลาดต่างๆ เรือที่ชาวบ้านต่อเอง ดัดแปลงเอง มีมากจนเรือขาว เขียวต้องเลิกกิจการ ความนิยมเรือหางสูงมาก คล่องตัว ในการให้บริการไม่ต้องรอคอยกันนานต่อมาไม่นานนักถนนเริ่มตัดคู้ซ้าย คู้ขวา ชาวบ้านเลิกจากเรือมาซื้อรถรับจ้างและรถส่วนตัว ในที่สุด เรือก็เริ่มหายไปเรื่อยๆ ชาวบ้านสนุกสนานเพลินกับรถ ค่อยๆ หันหลังบ้านลงคลอง ผักตบชวาและหญ้าต่างๆ เลยยึดแสนแสบหนาแน่นไปหมด มีสิ่งของต่างๆ ที่ไม่ต้องการก็ทิ้งลงคลองจนขยะแน่น น้ำเหม็น น้ำดำไปทั้งคลอง กุ้ง หอย ปู ปลา ที่เคยแหวกว่าย จึงค่อยๆ ตาย และหายไป มีให้เห็นเล็กน้อย ไม่ชุกชุม เหมือนเช่นเคย ไม่มีน้ำใสๆที่เคยเป็นหัวใจหลักของคนสองฝั่งคลองให้ได้ใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามแม้ภาพความงามของคลองแสนแสบจะเลือนหายไป แต่ความผูกพันธ์ที่มีต่อคลองแสนแสบไม่เคยเลือนหายไปจากผู้คนสองฝั่งคลองเลย แม้แต่น้อยด้วยความรักที่พวกเรามีต่อคลองแสนแสบ ความต้องการที่จะให้คลองแสนแสบกลับมาเป็นคลองสวยน้ำใสดังเดิมเช่นในอดีต พวกเราทั้งประชาชนหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนจึงร่วมแรงร่วมใจกันรักษา พัฒนา ฟื้นฟู และอนุรักษ์ จนในที่สุดคลองแสนแสนก็กลับมาเป็นคลองสวยน้ำใส ให้เราได้ชื่นชมอีกครั้งพวกเราโชคดีที่เกิดมาเป็นชาวคลองแสนแสบชมรมรวมใจ ภักดิ์รักษ์ต้นไม้ แม่น้ำลำคลอง และสิ่งแวดล้อมสัปปุรุษมัสยิดกมาลุลอิสลาม ทรายกองดิน

                                                                  *******

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2010 เวลา 16:18 น.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,154 Today: 64 PageView/Month: 1,848

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...