ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   โรงสีข้าวชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ แหล่งเรียนรู้แห่งชุมชน  (Read: 3163 times - Reply: 0 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

โรงสีข้าวชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ แหล่งเรียนรู้แห่งชุมชน
« Thread Started on 31/5/2553 21:41:00 IP : 124.120.64.158 »
 



                         1. ดรนิยม บุญพิคำ
                         1. ลุงประยูร พุ่มแก้ว
                         2. ผศ.อรทรรศน์ กุศลกุล
 
                         2. นายทรงศักดิ์ ทิมา
                         3. นายวีระโชค บุญสวัสดิ์
                         4. นายธาณวุฒิ ตั้งสกุล

 
 
                         ชุมชนหมู่บ้านคลอง 14 เลขที่ 26 หมู่ 11 แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก 10530

 
 


           ชุมชนคลองสิบสี่ หรือชุมชนวัดใหม่เจริญราษฎร์ เป็นชุมชนเก่าแก่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายมอญ ย้ายถิ่นฐานมาจาก ตำบลบ้านป้อม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ซึ่งได้มาอาศัยปลูกบ้านเรือนอยู่ตามริมคลองและบึงธรรมชาติ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี 2528 ได้มีการขุดคลองซอยส่งน้ำในพื้นที่เจตหนองจอก ลาดกระบัง มีนบุรี และจัดผังที่ดินใหม่ โดยแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2431 ประชาชนจำนวนมากจึงย้ายเข้ามาอยู่อาศัยตามริมคลองสิบสี่ และได้ร่วมกันสร้างวัดใหม่เจริญราษฎร์ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 ชุมชนคลองสิบสี่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 11 แขวงคลองสิบสอง ขึ้นกับเขตหนองจอก โดยมีนายสน แม้นสมุทร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และมี นายสุข ศรศิลป์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
 
       สำหรับตระกูลที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ตั้งแต่เริ่มแรกได้แก่ ตระกูลปานหงสา / แม้นสมุทรบ้านป้อม / และทุ่มแก้ว ต่อมาได้มีตระกูลอื่น ๆ ย้ายถิ่นฐานมาภายหลัง ซึ่งได้แก่ ตระกูลเลี้ยงบำรุง,และตระกูลศรีปาน จนกระทั่งในระยะหลังได้มีการย้ายเข้ามาอีกมากมายแต่ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่ชัดเจน
 
 
 

 

 
       ชุมชนบ้านคลองสิบสี่ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,350 ไร่ แบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2,325 ไร่ ที่อยู่อาศัย 20 ไร่ ที่สาธารณประโยชน์ 5 ไร่ จากการสำรวจการถือครองที่ดินพบว่าในจำนวนที่ดินทั้งหมดพบว่ามีเกษตรกรที่มีที่ดินเป็นของตนเองเพียง 610 ไร่ที่เหลือทั้งหมดเป็นที่ดินของคุณป้าอบเชย ยังพัฒนา ซึ่งปัจจุบันอายุ 76 ปี นอกจากนี้คุณป้าอบเชยยังมีที่ดินอีกมากมายในพื้นที่ตั้งแต่คลองสิบสี่จนถึงคลองแสนแสบ ประมาณ 5,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้แบ่งให้ลูกไปเกือบหมดแล้ว

       จากการสำรวจโดยหน่วยทะเบียนราษฎร์ เขตหนองจอก พบว่า ในชุมชนคลองสิบสี่ มี จำนวนประชากร 615 คน มี 93 ครัวเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มี 3 ครัวเรือน จำนวน สมาชิก 21 คน ที่นับถือศาสนาอิสลาม
 
 
 
 
 
  ทิศเหนือ ติดต่อชุมชนบิดาย่าตุ้ลอัลฮีดายะห์ หมู่ที่ 10 แขวงคลองสิบสอง
  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 , 4 ต. บึงน้ำรักษ์ อ. บางน้ำเปรี้ยว จ. ฉะเชิงเทรา
  ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 แขวงคลองหนองจอก
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนวัดแสนเกษม หมู่ที่ 8 , 9 แขวงคลองสิบสอง
 
 
 
 
 
 

 

        สภาพพื้นที่ทั่วไปของพื้นที่เขตหนองจอก ติดต่อกับ อ. บางน้ำเปรี้ยง จ. ฉะเชิงเทรา และ อ. ลำลูกกา
จ.ปทุมธานี เป็นที่ราบลุ่มเกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ จึงเหมาะแก่การทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ได้มีการว่างระบบชลประทานโดยการขุดคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง คือคลองแสนแสบ และ คลองหกวา โดยขุดห่างกันประมาณ 12 กิโลเมตร และมีการขุดคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองทั้ง 2 ขนานกันไป แต่ละคลองห่างกัน 2 กิโลเมตร โดยตั้งชื่อคลองเป็นลำดับตั้งแต่คลองหนึ่งไปจนถึงคลองสามสิบเอ็ด จรดเขาเพิ่ม ที่ จ. นครนายก


 
      ชุมชนคลองสิบสี่ ขึ้นอยู่กับแขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งแต่คลองสิบเอ็ดไปถึงคลองสิบห้า มีประตู เปิด – ปิด เพื่อระบายน้ำลงพื้นที่ตามความต้องการของคนในพื้นที่ โดยมี นายประยูร พุ่มแก้ว เป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานชลประทาน
 
 
 
 
 


 

 
       ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่การทำนา อาชีพทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นส่วนน้อย โดยเป็นพื้นที่นาของตนเอง และเป็นพื้นที่ นาเช่า ในส่วนของนาเช่าจะคิดค่าเช่า 35 บาทต่อไร่ หรือ คิดไร่ละ 4 ถังข้าวเปลือก นอกจากนี้ในการทำนายังมีการจ้างแรงงานเข้ามาช่วยด้วย เช่น จ้างฉีดยาฆ่าแมลง โดยคิดไร่ละ 30 บาท หรือจ้างหว่านปุ๋ยลูกละ 40 บาท เป็นต้น ซึ่งแรงงานที่จ้างก็เป็นคนในพื้นที่โดยจะได้รับค่าจ้างประมาณ 150 บาทต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำและจำนวนคนว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งการผลิตข้าวแต่ละครั้ง จะต้องได้ข้าว 70 – 80 ถังขึ้นไป จึงจะถือว่าคุ้มค่า และตามปกติ จะทำนาได้ปีละ 2 ครั้งเพราะมีปริมาณน้ำเพียงพอ และมีการจัดสรรน้ำที่เป็นระบบ มีผู้รับผิดชอบในการปิด – เปิด ประตูน้ำของคลองสิบสี่ โดยประสานกับกรมชลประทาน เพื่อนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรของคนในชุมชน

 นอกจากนี้ยังมีการทำสวน ในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เรียกว่า ไร่นาสวนผสม มีการปลูกมะม่วง มะพร้าว เลี้ยงเป็ด ,ไก่ , ปลา ซึ่งเป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคเองภายในครอบครัว และจำหน่าย ในด้านเศรษฐกิจชุมชนถือว่า ค่อนข้างดี แต่จะมีเพียงบางส่วนที่มีหนี้สินซึ่งเป็นหนี้สินทั้งในระบบ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และหนี้นอกระบบจากนายทุน โดยชุมชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 91,303.- บาท ต่อปี

 

 
      ลักษณะทางสังคมในชุมชนหมู่บ้านคลองสิบสี่ จัดเป็นสังคมแบบเครือญาติ มีการปลูกบ้านบริเวณใกล้เคียงกัน มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการร่วมมือกันทำงาน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วิถีชีวิตของคนในชุมชนยังมีการสืบทอดประเพณีแบบมอญ เช่น พิธีอุปสมบท จะมีการแต่งกายนาคด้วยสะไบขาวแบบมอญ นอกจากนี้ในพิธีงานศพก็ยังมีพิธีแต่งกายแบบมอญ คือ ผู้ที่ถือรูปออกหน้าแห่ศพไปวัดจะนุ่งโจงกระเบนขาว สะไบขาว เป็นต้น ในส่วนของประเพณีวันสงกรานต์ ก็จะมีการทำบุญที่วัดกันตามปกติ แต่จะ จัดงานรื่นเริง และการละเล่นต่าง ๆ จะลดลงเนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นมักก่อปัญหาอยู่เสมอ ในด้านภาษาที่ใช้ในชุมชนปัจจุบันใช้ภาษาราชการหรือภาษากลางในการสื่อสาร แต่จะมีพูดภาษามอญได้บ้าง แต่จะมีจำนวนน้อยแล้วและส่วนใหญ่จะเป็นคนเชื้อสายมอญแต่ดั้งเดิม
 
 
 
 
 

 

 
          มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง คือโรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์ มีนักเรียน 167 คน ครู 17 คน ( รวมครูพี่เลี้ยง ) ส่วนในระดับมัธยมนักเรียนจะต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนวัดหนองจอก และ โรงเรียนสวนกุหลาบปทุมธานี ในระดับปริญญาจะศึกษากันที่สถาบันราชภัฏ ราชครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คลอง 6 จังหวัดปทุมธานี แต่มีผู้สำเร็จการศึกษาถึงยังมีน้อย ชุมชนมีวัดหนึ่งแห่ง คือวัดใหม่เจริญราษฎร์ มีพระสงฆ์ 12 รูป และมีศูนย์สาธารณสุข 1 แห่ง คือศูนย์สาธารณสุข 44 สาขาวัดใหม่เจริญราษฎร์

 

           ในอดีตมีความเชื่อในเรื่องผีโดยชาวมอญจะเลี้ยงผีไว้ในบ้าน เช่นผีข้าวเหนียว ผีไก่ , ผีเต่า ,ผีงู ซึ่งจะบูชาด้วยแหวนทองคำ ผ้าแดง วางไว้บนหิ้งบูชา จุดธูปบอกเพื่อให้มารับทราบ ส่วนผีสัตว์ต่าง ๆ จะมีการเอาอวัยวะต่าง ๆของสัตว์เหล่านั้นมาบูชา เมื่อจะมีการบริโภค และจะมีความเชื่อว่าเมื่อจะเอาของสิ่งใดก็ให้เก็บไปได้เลยโดยไม่ต้องขอเจ้าของ เช่น คนที่นับถือผีไก่ จะไปขอไก่เจ้าของไม่ได้ แต่ให้ขโมยเอาได้เลย ( โดยไม่ต้องขอ ) ความเชื่อนี้ในปัจจุบันได้จางหายไปแล้วเพราะคนรุ่นใหม่ไม่มีการสืบทอด

 

 
 

 
       โรงสีข้าวชุมชนคลองสิบสี่ ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยความคิดริเริ่มของ นายเทเวศน์ ทองศรี ผู้อำนวยการเขตหนองจอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีโรงสีข้าวเพื่อให้ชุมชนผลิตข้าวกินเอง โดยการก่อตั้งใช้เงินงบประมาณจาก สก/สข และได้ที่ดินจากนายเวก ศรอุบล จำนวน 1 ไร่ เป็นที่ตั้งโรงสีข้าวชุมชนในการดำเนินการของโรงสีข้าวชุมชน ทางโรงสีได้ผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดีปทุมธานี 1 โดยมีเจ้าหน้าที่จากสถานีทดลองข้าว คลอง 16 มาให้คำแนะนำและให้พันธุ์ข้าว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในทุกขั้นตอน

 
ในส่วนของสมาชิกสามารถนำข้าวมาสีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ทางโรงสีจะเอารำข้าวและปลายข้าวไว้ เพื่อนำส่วนนี้ไปขาย เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในโรงสี แต่ในขณะนี้ความพร้อมของโรงสียังขาดตัวขัดข้าว และสีข้าวได้ 100 % ยังไม่ได้ แต่ทางโรงสีบรรจุข้าวถุงเพื่อจำหน่ายได้
 
 
 
 
 
 
 

 

 
1. ลุงเวก ศรอุบล อายุ 73 ปี ผู้บริจากที่ดิน 1 ไร่ เป็นที่ตั้งโรงสีข้าวชุมชน
2. ลุงประยูร พุ่มแก้ว อายุ 67 ปี ผู้รับผิดชอบ ปิด – เปิด ประตูน้ำคลองสิบสี่
3. ผู้ใหญ่สุข ศรศิลป์ อายุ 55 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 และประธานกลุ่มเกษตรกร โรงสีข้าวชุมชน
4. นายสำรวย น่วมภักดี เลขานุการกลุ่ม ฯ
5. ป้าสะอาด ศรศิลป์ อายุ 47 ปี อาชีพรับจ้างทำนา
6. ป้าประไพ ประสงค์ศิลป์ อายุ 53 ปี อาชีพทำนา
7. ป้าศรีจรูญ เข็มทอง อายุ 53 ปี อาชีพทำนา
8. ป้าพุ่มมาลัย ผาสุก อายุ 55 ปี อาชีพทำนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,122 Today: 32 PageView/Month: 1,815

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...