ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก  (Read: 6026 times - Reply: 2 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก
« Thread Started on 21/9/2552 21:07:00 IP : 124.122.252.54 »
 

วิถีแห่งแหล่งชุมชนคนหนองจอก
แดนใหญ่สุดในบางกอก เคยรู้ไหม
เป็นที่รวมอารยธรรมไว้มากมาย
ทุกเชื้อสาย หลายชุมชน ปนกันมา
แหล่งสั่งสม ภูมิปัญญา หาเลี้ยงชีพ
จงเร่งรีบ สืบสาน และศึกษา
ร่วมภูมิใจในวิถีมีวิชา
จากปู่ย่า ตายาย หนองจอกเรา

 

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เขตหนองจอก

ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พี่น้องไทยพุทธ ไทยมุสลิมสามัคคี
ประชากรเขตหนองจอกกว่า ๗๕%  นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ตั้งรกรากอยู่ในเขตหนองจอกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ นอกจากนั้นยังประกอบด้วยชาวพุทธ คริสต์ รวมถึงชาวรามัญ ซึ่งต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยมีศาสนาเป็นสิ่งเชื่อมโดยงความสัมพันธ์อันดี

จากวิถีชีวิตที่มีความผูกพันอยู่กับธรรมชาติ ส่งผลให้ชาวหนองจอกมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ และได้สร้างสรรค์ผลงานจากภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าผ่านทางงานฝีมืออันประณีตและเครื่องใช้ไม้สอยทางด้านเกษตร ด้านหัตถกรรม และด้านอื่นๆ จนสามารถสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักอย่างมากมาย

ชมของดี
เขตหนองจอกขึ้นชื่อด้านงานฝีมือ ไม่ว่าจะเป็นการทำกรงนก
จากเขาสัตว์ เครื่องจักสาน หมวกถัก และผ้าคลุมผม ล้วนแล้วแต่ประณีตและสวยงามไม่แพ้ที่อื่น รถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง
เป็นพาหนะที่ชาวหนองจอกและผู้มาเยือนนิยมใช้ในการสัญจร 
รวมทั้งการละเล่นไก่ชน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งและยังมีสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้เลือกซื้ออีกมากมาย

เที่ยวที่เด่น

ความหลากหลายทางศาสนาของเขตหนองจอก ทำให้มีสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว เต็มไปด้วยศาสนสถาน อาทิ 
วัดหนองจอก, โบสถ์นักบุญเทเรซ่า, มัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน, 
สำนักจุฬาราชมนตรีและสำนักคณะกรรมการกลางอิสลาม
แห่งประเทศไทย

มุสลิมนี้มีที่มาอย่างไร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ 
โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนาราชโกษาธิบดีเป็นแม่กอง 
จ้างชาวจีนมาขุดคลองแสนแสบเพื่อใช้เป็นเส้นทางการลำเลียงอาวุธและเสบียงในระหว่างสงครามไทยกับเขมร เมื่อสิ้นสุดสงครามทางการจึงนำชาวมุสลิมที่ได้กวาดต้อนมาจาก ๗ หัวเมืองหลักภาคใต้ให้มาตั้งรกรากอยู่ตามแนวคลองแสนแสบและ
สืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน

แสนแสบแสบแค่ไหน ทำไมเรียกคลองแสนแสบ

คลองแสนแสบถูกขุดขึ้นโดยชาวจีนในสมัยรัชกาลที่ ๓ 
เดิมชื่อ คลองเจ็ก ตามชื่อเรียกชาวจีน และสาเหตุที่เปลี่ยนชื่อ
ก็เพราะหลังจากขุดคลองแล้วทำให้มียุงมาก ประกอบกับ
ไม่มียากันยุง ชาวบ้านที่โดนยุงกัดก็ทำให้รู้สึกแสบๆ คันๆ 
จึงเรียกว่า คลองแสนแสบ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก
จำนวนข้อความทั้งหมด:  1
1
แสดงความคิดเห็น
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 21/9/2552 21:19:00 IP : 124.122.252.54 »   
Re: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก
 
luise Talk:
เวลาเรานึกถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร สิ่งที่เราแทบจะไม่จินตนาการถึงเลยคือ ทุ่งนาอันเขียวขจีกับวิถีชีวิตของชาวนา ชานเมืองกรุงเทพฯ ยังมีนาข้าว และเราจะเห็นได้จากเขตหนองจอกนี้เอง

ความเป็นมาของเขตหนองจอกเริ่มจากอำเภอหนองจอกที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เคยขึ้นอยู่กับจังหวัดมีนบุรี เมื่อจังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพระนคร อำเภอหนองจอกจึงไปขึ้นอยู่กับจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ในปีถัดมาได้ย้ายมาเป็นเขตปกครองในจังหวัดพระนคร ท้ายที่สุดมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515

สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แตกต่างจากหลายเขตตรงที่ไม่ได้อยู่ในวัดและโรงเรียน สวนไม้มงคลพระราชทาน 76 จังหวัดคือสวนป่าที่เป็นอาคารที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ อยู่ในพื้นที่ประมาณ 12ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเขตหนองจอก พื้นที่นี้อยู่นอกเมืองห่างจากสำนักงานเขตฯ พอสมควร เมื่อเข้ามาเดินภายในสวนของพิพิธภัณฑ์นี้เราจะสัมผัสได้กับความร่มรื่นของต้นไม้ ในส่วนด้านหลังของตัวอาคารมีลำคลองน้ำใสขนาดเล็ก มีที่นั่งใต้ร่มไม้ สนามหญ้าและต้นไม้ภายในสวนนี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากคนทำสวนของทางสำนักงานเขตฯได้จ้างมาดูแล

ผู้นำชมพิพิธภัณฑ์คือคุณฐิตติวัฒน์ มหาวงศ์สถิต เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมและคุณสิทธิพร มะเด็น อาสาสมัครลานกีฬา คุณฐิตติวัฒน์ได้บอกว่าสวนไม้มงคล 76 จังหวัดคือ ต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด จุดเด่นของเขตหนองจอกคือการมีที่นาอยู่ถึง 80 % และมีประชากร 65% เป็นชาวมุสลิม (ข้อมูลเมื่อพ.ศ. 2551)

ที่มาของคนมุสลิมที่นี่คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดีเป็นแม่กองจ้างชาวจีนมาขุดคลองแสนแสบเพื่อใช้เป็นเส้นทางการลำเลียงอาวุธและเสบียงในระหว่างสงครามไทยกับเขมร เมื่อสิ้นสุดสงคราม ทางการได้นำชาวมุสลิมที่ได้กวาดต้อนมาจาก 7 หัวเมืองหลักภาคใต้มาตั้งรกรากอยู่ตามแนวคลองแสนแสบและสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน คุณสิทธิพร ซึ่งเป็นมุสลิมได้เล่าเสริมเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนมุสลิมในชุมชน ปัจจุบันยังรักษาประเพณีเก่าแก่ได้เป็นอย่างดีจะเห็นได้จากงานแต่งงาน งานสุหนัต สำหรับเครื่องดนตรีของมุสลิมที่มีมาแต่ดั้งเดิมจะมีการเล่นกันในงานรื่นเริง

ในเขตนี้มีมัสยิดหลายแห่ง มัสยิดใหญ่คือมัสยิดอัลฮุสนา มัสยิดนี้เป็นศาสนสถานสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบคือมัสยิดดารุ้ลมุตตะกีน(คู้) เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุเกินกว่า 100 ปี และมัสยิดดารุสสลาม โดย “มิมบัร” ของมัสยิดนี้เป็นงานไม้ที่สวยงามมาก โดยด้านหน้าตรงทางขึ้นทำเป็นซุ้มโค้ง ด้านหน้าของเสาทั้งสองข้างมีงานสลักรูปพวงองุ่น

การอยู่ร่วมกันของผู้คนในเขตนี้ถือว่ามีความปรองดองกัน แม้จะมีความแตกต่างทางศาสนา นอกจากศาสนาอิสลามที่เป็นคนส่วนใหญ่ก็ยังมีศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนมอญคลองสิบสี่ อันเป็นชุมชนมอญที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ สำหรับวัดที่อยู่ในเขตนี้ได้แก่วัดหนองจอก และวัดใหม่เจริญราษฎร์ ซึ่งวัดนี้ถือเป็นวัดสำคัญของชุมชนมอญคลองสิบสี่

สถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งคือโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ อยู่ในบริเวณชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา  และมีโฮมสเตย์ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนที่นี่ รวมทั้งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย บรรยากาศโดยรอบเป็นธรรมชาติ มีวัด มัสยิด เป็นสถานที่เรียนรู้หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

ในงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม คุณฐิตติวัฒน์ ได้บอกว่าในปีนี้ทางสำนักงานเขตหนองจอกได้จัดทำไปแล้วสองโครงการคือ งานสงกรานต์ไทยรามัญที่คลองสิบสี่ และงานอนุรักษ์วัฒนธรรม (หนองจอกหรรษา)

การจัดแสดงสิ่งของภายในพิพิธภัณฑ์ เราจะเห็นมุมของวิถีชาวบ้านที่มีเปลเด็กจักสานด้วยหวาย ใกล้กันมีสุ่มไก่ ซึ่งชาวบ้านจำนวนหนึ่งชอบการชนไก่ ใกล้กันมีแบบจำลองของเรือลักษณะต่างๆ แบบจำลองอุปกรณ์จับปลา ส่วนภาพที่แสดงวิถีชีวิตในชุมชนชนบท จะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาได้แก่ เคียว เครื่องสีฝัด แอก พลั่วตักข้าว กระบุง คันไถ ระหัดวิดน้ำ

การมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์สามารถทำนาได้ เกิดมาจากพื้นที่นี้มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย ถ้ากล่าวถึงวิถีชีวิตในปัจจุบัน ความผูกพันกับแม่น้ำของผู้คนในเขตนี้จัดว่าเป็นเรื่องราวในอดีต แม้จะยังมีบ้านริมคลองเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันชาวบ้านไม่ได้ใช้แม่น้ำในการสัญจรไปมา ทำให้แทบไม่มีเรือโดยสาร ในเรื่องนี้ทางสำนักงานเขตฯ ก็มีความคิดที่จะสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวทางน้ำขึ้น

หนึ่งในชื่อคลองที่เราคุ้นเคยอย่างคลองแสนแสบ ลำน้ำเส้นนี้ไหลผ่านใกล้กับสำนักงานเขตและออกไปทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ประวัติของคลองเส้นนี้เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2480 เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน โดยขยายจากแนวคลองสายเดิม เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบและเสบียงอาหารไปยังประเทศญวน ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี

ในด้านสินค้าชุมชน เขตหนองจอกขึ้นชื่อด้านงานฝีมือในการทำเครื่องจักสาน หมวกถัก ผ้าคลุมผมของสตรีมุสลิม และที่เห็นสะดุดตาอยู่ตรงมุมด้านหนึ่งคือมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง ใช้เป็นรถรับหจ้างวิ่งอยู่เฉพาะในเขต

จากการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์ สิ่งที่เด่นสำหรับคนในเขตนี้คือความปรองดองกันของคนต่างศาสนา ต่างเชื้อชาติ แม้ว่าต่างก็ยังผูกพันกับขนบธรรมเนียมวิธีปฏิบัติในศาสนาของตน นั่นเป็นเพราะว่าโดยแก่นแท้ ทุกศาสนาล้วนต้องการให้ผู้คนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติ

สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน / ถ่ายภาพ



 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 464,997 Today: 80 PageView/Month: 610

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...