ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   คลองสิบสี่ก็มีมอญ (รามัญ)  (Read: 2242 times - Reply: 1 comments)   
luise

Posts: 62 topics
Joined: 16/8/2552

คลองสิบสี่ก็มีมอญ (รามัญ)
« Thread Started on 9/9/2552 0:40:00 IP : 124.120.63.81 »
 
 

สิบสี่ก็มีมอญ
                                                                                                                     

ประดิษฐ์ ชื่นมีศรี


   มอญคลองสิบสี่      ทีจริงหัวเรื่อง   ควรจะเป็น  “คลองสิบสี่ก็มีคนไทย เชื้อสายมอญ”  ถ้าใช้หัวเรื่องนี้ ดูมันยาวเกินไป อยากให้หัวเรื่องมัน กระทัดรัดเท่านั้น ในการเขียนครั้งนี้  มิได้ค้นคว้าตามหลักวิชาการ   แต่เขียนจากประสบการณ์  จากคำบอกเล่า ทั้งนี้ผู้เขียน เป็นคนที่กำเนิดเกิดที่คลองสิบสี่  ขณะนี้ก็อายุ ๖๒ ปี  จึงนำเอา คำบอกเล่านำมาเรียบเรียง  ประกอบกับทนต่อกระแสคำเรียก ร้องของ  ผอ.ทวี   แก่นดำ ไม่ได้  จึงเขียนออกมา  หากผิดพลาดประการใด ขออภัยและยินดีน้อมรับข้อแก้ไขที่ถูกต้อง หากมีความดีอยู่บ้าง  ขอมอบอานิสงส์ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  และขอระลึกถึงตลอดเวลา

       คลองสิบสี่ เป็นคลองซอยเชื่อม ระหว่างคลองแสนแสบกับคลองหกวา-ลำลูกกา และช่วงที่สอง เชื่อมคลองหกวา-ลำลูกกากับคลองรังสิต จะเขียนเฉพาะส่วน ที่เชื่อมคลองแสนแสบ กับคลองหกวา-ลำลูกกาเท่านั้น เพราะเป็นถิ่นกำเนิด หรือ ชาวบ้านเรียกว่า “สิบสี่ตอนล่าง” เฉพาะส่วนที่คนไทยเชื้อสายมอญ ตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย และทำมาหากิน (ทำนา) และ บางส่วนก็มี คนไทยเชื้อสายอื่นปะปนอยู่ บ้าง เป็นไปตามกาลเวลาของ สังคมมนุษย์ และสภาพของเศรษฐกิจ ที่ พัฒนาอย่างต่อ เนื่องและรวดเร็ว

       คลองสิบสี่ (ล่าง)  นอกจากเป็น คลองซอยสำหรับระบายน้ำแล้ว ยังเป็นแนวเขต ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยพื้นที่ น้ำในลำคลองทั้งหมด เป็นของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสะดวก ในการตัดสินคดีความ หากจะมีหรือเกิดขึ้นในลำคลอง คลองนี้ห่าง จากสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประมาณ  ๖  กม. มีถนน ๒ สาย จากเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร  คือ

       ๑. ถนน สายเลียบลำคลองสิบสาม–รังสิต โดยมีถนน วัดใหม่เจริญราษฎร์ เชื่อมต่อเข้าสู่คลองสิบสี่
       ๒. ถนน เชื่อมสัมพันธ์–ไผ่ดำ โดยมีถนนยังพัธนา เชื่อม เข้าคลองสิบสี่  เป็นถนนขนานไปกับลำคลอง

ชุมชนคนไทยเชื้อสายมอญ  จะตั้งบ้านเรือนอยู่  ๒ ฝั่งคลองสิบสี่   ประกอบด้วย
        - ฝั่งคลองด้านฝั่งทิศตะวันออก  มี หมู่ ๓ - ๔ – ๕   ตำบล บึงน้ำรักษ์  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
       -  ฝั่งคลองด้านฝั่งทิศตะวันตก  มี หมู่  ๔ แขวงหนองจอก  เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร  และ หมู่  ๑๑  แขวงคลอง สิบสอง  เขตหนองจอก  กรุงเทพมหานคร  ชุมชนนี้มีบ้านเรือน อยู่ประมาณ ๑๐๐   หลังคาเรือน และภายในชุมชนนี้มี วัด ใหม่เจริญราษฎร์ และ โรงเรียน"วัดใหม่เจริญราษฎร์" เป็นศูนย์กลาง    ตั้งอยู่ที่หมู่  ๑๑  แขวงคลองสิบสอง   เขตหนองจอก  กรุงเทพมหานคร  หรืออยู่ฝั่งตะวันตกของลำคลอง  การเดินทาง ใช้ถนน ๒ สายดังกล่าว เป็นเส้นทางมุ่งสู่กรุงเทพมหานคร 
(โปรดอ่านต่อฉบับหน้า)

ศาลาวัด

อุโบสถหลังเก่า"วัดใหม่เจริญราษฎร์" สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2476

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   แหล่งท่องเที่ยวในเขตหนองจอก
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 465,108 Today: 191 PageView/Month: 721

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...