ท่องเที่ยวหนองจอก (Nongchoktravel)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

ธารน้ำใสสะอาด  พฤกษชาติเขียวขจี  พื้นที่กว้างใหญ่  มหาวิทยาลัยระดับชาติ  ผดุงบทบาท "บรม" "บวร"  พัฒนาประชากรหนองจอก ... ประพันธ์โดย อ.อั๊ดนาน นีละไพจิตร ข้าราชการบำนาญ

   Main webboard   »   มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   ตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน  (Read: 1870 times - Reply: 0 comments)   
อัสมีน

Posts: 0 topics
Joined: none

ตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
« Thread Started on 13/12/2552 18:51:00 IP : 124.120.60.112 »
 
ตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน  (อ่าน 2082 ครั้ง)

(สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)   จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน   ถึงการพัฒนาเครือข่ายเพื่อความมั่นคง

        การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นโอกาสที่สำคัญมากสำหรับการพัฒนาประเทศไปจนถึงท้องถิ่นต่างๆ ให้พลิกฟื้นจากปัญหาความยากจนสู่ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงปรับเปลี่ยนแนวทางและกลยุทธ์ เพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ

        รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยจึงทุ่มเทความสนใจและตั้งเป้าให้เป็นแนวทางหลักในการฟื้นฟูสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการกระจายงบประมาณเพื่อพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการตอบรับกระแสการพัฒนานี้อย่างรวดเร็ว แต่ละจังหวัด อำเภอ ตำบล และท้องถิ่นต่างๆ พากันเสนองบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ตนเองซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีละสร้างรายด้ายอย่างที่เข้าใจกันแต่กว่าร้อยละแปดสิบของโครงการที่เสนอเข้ามาของงบประมาณทางด้านการท่องเที่ยว ต่างมุ่งเน้นที่จะพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย (อีกทั้งนักการเมืองในระดับต่างๆ มุ่งที่จะผลักดันให้โครงการเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างฐานเสียงและผลประโยชน์ส่วนตน)

มุ่งเน้นการเปิดพื้นที่เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นแต่ขาดกำลังคนที่จะดำเนินการและขาดความเข้าใจถึงแก่นแท้ของการรองรับการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอีกทั้งยังไม่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเรียกได้ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นแบบไหน พฤติกรรมอย่างไรก็ต้องรับได้หมด

     ชุมชนท้องถิ่นถูกคาดหวังให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ การให้ความรู้และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวแต่หน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะเป็นกระทรวงต่างๆ หน่วยงานในท้องถิ่น และชุมชนทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

            ทำให้เกิดการคิดแบบแยกส่วน แยกกันคิด แยกกันวางแผน แยกกันของบประมาณ แยกกันจัดการ จะเห็นได้จากแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกทำลายลงไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยผ่านการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อย่างไร้ทิศทาง ซึ่งถือว่ากลายเป็นการซ้ำเติมปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ของไทยเรา
 

     การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมอย่างเสมอภาคกันทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องอย่างชาญฉลาด ซึ่งจะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นภายใต้ขีดความสามารถของธรรมชาติที่จะรองรับได้ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม  ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นไว้ให้ได้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

     
        เป้าหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่การพัฒนาในทุกๆด้านของการท่องเที่ยวจะต้องมุ่งยึดถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้ง 3 ส่วนนี้
      ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนับได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤติอันเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยปราศจากการจัดการที่ดีพอ จึงส่งผลให้ทรัพยากรเกิดความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่รวมไปถึงการท่องเที่ยวที่จะต้องมีการวางแผนและจัดการที่ดีพอที่จะไม่ส่งผลกระทบไปถึงสิ่งแวดล้อมได้ อีกทั้งควรเร่งช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพทางธรรมชาติให้คงเดิมไว้ให้มากที่สุด

        ความยั่งยืนของสังคมและวัฒนธรรม สังคมและวัฒนธรรม
ไทยท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจากกระแสวัฒนธรรมตะวันตกจนน่าเป็นห่วง เอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทยจะเลือนหายไปในที่สุด จึงเกิดความพยายามที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่ต่อไป จึงถือว่าเป็นเป้าหมายอีกด้านหนึ่งที่การจัดการท่องเที่ยวเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนต้องคำนึงถึง

         ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ
เมื่อมีการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สภาพทางสังคม และ วัฒนธรรมสภาพของการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเกิดการพัฒนาขึ้นไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็ว หรือก้าวกระโดด แต่ก็สามารถเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างพอเพียงขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งจะเกิดสมดุลภาพ ระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ นั่นเอง
 
 

           ลักษณะการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน การดำเนินการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนควรจะต้องมีลักษณะหรือข้อสังเกตที่สำคัญหลักๆ 3 ประการดังต่อไปนี้

1.   คำนึงถึง  คุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพของของประสบการณ์จากการท่องเที่ยวและนันทนาการคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

2.   คำนึงถึง ความต่อเนื่อง ยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความต่อเนื่องของทรัพยากรวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน

3.   คำนึงถึง ความสมดุล ระหว่างความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกับ ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และขีดความสามารถรองรับของทรัพยากรท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

  ความสมดุล ระหว่างประโยชน์ที่ส่วนรวมได้รับในปัจจุบันกับประโยชน์ที่พึงจะได้รับในอนาคต

              สิ่งที่นำเสนอที่ผ่านมาถือเป็นสิ่งสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องกลับมาทบทวนสิ่งที่ได้ดำเนินการไป ว่าถูกทางมากน้อยเพียงไร ในบทบาท ของชุมชนจะต้องทำความเข้าใจจุดยืนและยอมรับ ภาระ และหน้าที่อะไรบ้างก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนเอง หรือในบางชุมชนที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งอาจจะอาศัยแนวทางเหล่านี้ทบทวนขบวนการของชุมชนเพื่อพัฒนาในระดับต่อๆไป จะขออธิบายข้อสังเกตไว้ดังนี้

1.   ชุมชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างจริงจังหรือไม่ควรจะต้องมีส่วนรับรู้ ร่วมคิดและตัดสินใจร่วมกันตั้งแต่ต้น

2.   ตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการท่องเที่ยวทั้งแง่บวกและลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาหลายชุมชนรับรู้เพียงด้านบวกของผลประโยชน์เพียงส่วนเดียว

3.   ยึดมั่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน โดยเข้าถึงผลการเปลี่ยนแปลงหากการท่องเที่ยวเข้ามาแล้วจะไม่ทำให้สิ่งดีๆเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปได้โดยง่าย

4.   เข้าใจให้ตรงกันว่า การท่องเที่ยวเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะทำให้คนในชุมชนได้มาคิดร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนากระบวนการคิดและความเข้มแข็งของชุมชนเป็นเรื่องหลักผลตอบแทนเป็นเรื่องรองหรือรายได้เสริมนั่นเอง

5.   วางแผนล่วงหน้าเรื่องเงินๆ ทองๆ ให้เกิดความยุติธรรมและกระจายรายได้ให้ทั่วถึงมากที่สุด เพราะหลายแห่งเมือจัดสรรไม่ลงตัว จะเกิดความขัดแย้งและความแตกแยกในที่สุด และควรจัดแบ่งส่วนหนึ่งของรายได้ กลับมาใช้พัฒนา ฟื้นฟูธรรมชาติและสังคมด้วย

6.   นักท่องเที่ยวคาดหวังว่าจะมีการนำเสนอหรือสื่อความหมายทางวัฒนธรรมหรือธรรมชาติที่เข้าใจง่าย เป็นกันเอง มิใช่การพาไปให้ถึงที่ท่องเที่ยวเฉยๆควรมีการพูดคุยหรือให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆด้วย

7.   กิจกรรมการท่องเที่ยวจะต้องเคารพกฎเกณฑ์อันดีงานของชุมชนและสังคมนั้นๆ และเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวด้วย

8.   มุ่งเน้นการจัดการที่ดี เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวส่วนมากจะจัดการได้ไม่เหมาะสมสำหรับความมีคุณค่าในตัวเองบางครั้งมุ่งจัดการเพื่อให้นักท่องเที่ยวสะดวกแต่ลืมคำนึงถึงสภาพการดูแลรักษาธรรมชาติและวัฒนธรรม

9.   มีการจัดการอย่างเหมาะสม ในด้าน
                      การจัดการขยะ ที่จะต้องให้มีน้อยที่สุดหรือพยายามให้นักท่องเที่ยวนำกลับไป  ด้วย
                      คุณภาพน้ำ ที่จะต้องพยายามลดทิ้งน้ำเสียจากการท่องเที่ยว ทำแหล่งน้ำให้สะอาดที่สุด ในกรณีมีแหล่งน้ำตก หรือธารน้ำธรรมชาติ ไม่ควรใช้ยาสระผมหรือสบู่เนื่องจากจะส่งผลถึงสัตว์ พืชและระบบนิเวศ
                      การจัดเสียง การควบคุมไม่ให้เกิดเสียงอึกทึกครึกโครมไม่ว่าจะมาจากเสียงนักท่องเที่ยว เครื่องยนต์ หรือแม้กระทั่งเสียงเพลงหรือเครื่องเสียงเพราะนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติมักชอบความสงบด้วย
                      การดูแลความปลอดภัย ให้แก่ชีวิตและและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ซึ่งสำคัญมากความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคำอันดับต้นๆที่นักท่องเที่ยวทุกคนคำนึงถึง ดังนั้นการจัดการด้านนี้ต้องมีความพร้อมมากที่สุดเช่นกัน ร่วมไปถึงการจัดการเตรียมการเรื่องการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องด้วย

10.   การแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมเป็นสัดส่วนไม่ควรเปิดให้ท่องเที่ยวได้ทั้งหมด เพราะในบางครั้งอาจเป็นการลบกวนความสงบสุขและความเป็นตัวของชุมชน หรือพื้นที่ธรรมชาติที่ควรจะสงวนไว้ให้ธรรมชาติได้พักฟื้นตัวเองด้วย ดังนั้นควรวางแผนเรื่องการจัดแบ่งสรรพื้นที่ตั้งแต่แรก

11.   คำนึงถึงความสามารถรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านการจัดการและบริการที่มีขีดจำกัดไม่ใช่จะรับได้เรื่อยๆอย่างไม่มีขีดจำกัด มิฉะนั้นจะส่งผลทำให้การท่องเที่ยวในพื้นที่เสื่อมโทรมและเสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว

12.   คุณภาพการให้บริการ ทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร การเดินทาง ความเป็นมา ที่พัก อาหารท้องถิ่น และที่สำคัญเสน่ห์ของการท่องเที่ยวในชุมชนไทย คือ อัธยาศัย น้ำใจไมตรี ความเอื้ออาทร และรอยยิ้มนั่นเอง

13.   ร่วมกันวางแผนการรองรับการพัฒนา  และป้องกันผลกระทบทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งอาจจะพัฒนาไปสู่การเป็น แผนปฏิบัติการ แผนยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่แผนแม่บทได้ในที่สุด

14.   พยายามเผยแพร่และหาโอกาสสร้างคนรุ่นใหม่ให้ได้มีโอกาสก้าวเข้ามาทำงานเพื่อชุมชน และค่อยๆ สร้างการรองรับในชุมชนเองจนสามารถมีกลุ่มอายุต่างๆ กันและถ่ายทอดวิธีการแนวทางและภูมิปัญญาให้สื่อออกไปได้

15.   พัฒนาและหาโอกาสที่จะให้ชุมชนได้เรียนรู้จากความสำเร็จปัญหา และทางแก้ไขปัญหาของรูปแบบการบริหารการจัดการของชุมชนอื่นๆอยู่เสมอเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน   
 
 

             ในขณะที่เราพัฒนาการท่องเที่ยวโยชุมชนไปนั้น ชุมชนอื่นๆทั้งใกล้และไกล ต่างก็พากันหาหนทางในการพัฒนาตนเองเช่นกัน โดยการอนุรักษ์รักษาเพื่อหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชุมชน ในรูปแบบของแหล่งหาอาหารแหล่งการเรียนรู้ แหล่งสืบสานประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ และแหล่งหารายได้จากการท่องเที่ยว

            จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนหรือชุมชนอื่นๆที่มีลักษณะบางอย่างใกล้เคียงกันมาร่วมกนคิดเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจ รวมถึงการมีข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ทางวิชาการเรียกว่าการสร้างเครือข่ายนั่นเอง เครือข่ายในนี้อาจจะเป็น เครือข่ายการอนุรักษ์ เครือข่ายการจัดการ หรือเป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวก็ได้

             ท่ามกลางสังคมทางการแข่งขัน การรวมกันเป็นเครือข่ายจึงมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะชุมชนต่างๆ ที่มีแนวทางการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง คือ การจัดการดูแลและพัฒนาตนเองตามศักยภาพเพื่อสร้างฐานความเข้มแข็งให้กับชุมชนของตนด้วยกำลังของชุมชนเอง ซึ่งนักวิชาการภายนอก หรือองค์กรต่างๆ ที่เข้ามาให้การช่วยเหลือจากภายนอก เปรียบได้กับไม้แขวนเสื้อผ้าสามารถคงรูปทรงได้แต่หากนำออกไปรูปทรงเหล่านั้นอาจจะสูญสลายหายไปได้

การสร้างเครือข่ายจึงเป็นแนวทางให้ชุมชนต่างๆได้มีโอกาสเรียนรู้เกื้อกูล และคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กันและกัน องค์กรหรือนักวิชาการก็เป็นเสมือนเครือข่ายที่คอยให้ความช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่งเช่นกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นวิถีที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นบ่อยนัก ซึ่งหากพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ชุมชนจะสามารถนำประสบการณ์ต่างๆจากเครือข่ายไปจัดการหรือพัฒนาตนเองและชุมชนสู่ความยั่งยืนได้ต่อไป
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

Reply topic :: แสดงความคิดเห็น
ชื่อผู้โพสต์:  เช่น John
ภาพไอคอน:
icon
แปะรูป:
 
รายละเอียด:
Emotion:




Security Code:
Verify Code 
 
   Bookmark and Share
   Main webboard   »   มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  


   


สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยือนเว็บท่องเที่ยวหนองจอกครับ 

ผมมีความยินดีภูมิใจนำเสนอเขตหนองจอกที่เป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก และเป็นหนึ่งในเขตที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ  แต่คุณรู้มั้ยครับว่าเขตชานเมืองอย่างหนองจอกนั้นมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมกันอยู่  และมีสภาวะแวดล้อมที่คล้ายกับต่างจังหวัดอย่างฉะเชิงเทราอีกด้วย

เขตหนองจอก (Nongchok District) ได้รับการสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2440 (1897)  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมีนบุรีโดยได้มีการอพยพชาวไทยมุสลิมจากบริเวณ 7 หัวเมืองภาคใต้ มาตั้งรกรากทำมาหากินตามแนวคลองแสนแสบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดลอกขยายคลองเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเดินเรือ  ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทคูสยามขึ้นและได้สัมปทานขุดลอกคลองต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางกสิกรรมจึงมีผู้อพยพตั้งถิ่นฐานมากขึ้นตามลำดับ  ในปีพ.ศ. 2499 ร.ต.ต.ยรรยง ธีรรัช นายอำเภอสมัยนั้นเห็นว่าที่ตั้งของอำเภอไม่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปสร้างในที่แห่งใหม่ ณ บริเวณหมู่ 2 แขวงกระทุ่มราย ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้สองชั้น  ต่อมาปีพ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารคอนกรีต 3 ชั้นหลังใหม่เพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารหลังเดิม มีทางเดินเชื่อมต่อระหว่างกัน  ต่อมาได้ทำการรื้อถอนอาคารหลังเดิมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532  และมีพิธีเปิดอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2533

หมายเหตุ  อำเภอหนองจอก เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ว่า เขตหนองจอก ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ที่มา : แผ่นพับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเขตหนองจอก  กองการท่องเที่ยว


จังหวัดมีนบุรี ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี และได้รับเอาท้องที่ตำบลแสนแสบจากอำเภอลาดกระบังมาอยู่ในการปกครองในปีพ.ศ.2500

จากนั้นอำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตมีนบุรี เมื่อมีการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง จนในที่สุด ปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร

ที่มาจาก : wikipedia.org



Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 464,399 Today: 11 PageView/Month: 11

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...